คำปรารภ

คำปรารภ
รูปนี้ถ่ายเมือวันที่ไปเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อประมาณมีนาคม 2553 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต...แต่แล้วชีวิตก็หักเหอีกครั้ง เมื่อฉันตัดสินใจเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาวิชาชีพครู หลายคนบอกฉันว่าดี หลายคนบอกว่าฉันถอยหลังเข้าคลองหรือเปล่า แต่สำหรับตัวฉันเองฉันคิดว่าไม่ว่าจะจบสาขาใดมาก็ตาม สิ่งที่ควรจะต้องศึกษาเพิ่มเติมด้วยอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ วิชาว่าด้วยความเป็นครู แหละฉันก็ยังคงเชื่อมั่นว่าฉันไม่ได้คิดผิด ฉันเป็นผู้ที่ชอบเรียนหนังสือทุกรูปแบบไม่ว่าเป็นเรื่องใด ฉันสนใจและเห็นว่าเป็นประโยชน์ทั้งหมด ฉันเคยเป็นนักเรียนผ่านระบบการเรียนแบบ e-learning Virtual classroom ตั้งแต่ประมาณปี 47-49 เรียนผ่าน CAI /Multimedia ผ่านสื่อหลายชนิด บ่อยครั้งก็ฟังเทศน์ออนไลน์ บางครั้งก็ไปนั่งฟังพระเทศน์ หรือผู้เฒ่าผู้แก่ หรือแม้กระทั่งเด็กเล็กๆ ซึ่งบางครั้งก็สามารถแนะนำทางออกของปัญหาต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจและเป็นประโยชน์ได้ไม่น้อย ถ้าถามว่าฉันจะเรียนอะไรต่ออีกไหม แน่นอนว่าน้ำหน้าอย่างฉันคงเป็นไปไม่ได้ที่ฉันจะไม่เรียน ว่าแต่ว่าจะเรียนอะไร ปริญญาเอก หรือหลักสูตรใดที่ฉันสนใจ ก็คงจะต้องให้จบหลักสูตรนี้ก่อนซึ่งก็ใกล้ความจริงเข้ามาแล้ว ไม่ต้องให้กำลังใจก็ได้ แต่ถ้าจะให้กำลังใจกันก็ขอขอบคุณนะค่ะ แต่คนเราถ้ามัวแต่รอกำลังใจจากผู้อื่นอยู่บางครั้งอาจหมดกำลังใจไปก่อนก็ได้ เพราะผู้คนสมัยนี้นอกจากไม่ค่อยให้กำลังใจกันแล้ว ยังทำร้ายจิตใจบั่นทอนกำลังใจของผู้อื่น เห็นกันบ่อยจนชินหูชินตา ฉันคงเก็บความทรงจำส่วนที่น่าประทับใจของการเรียน ป.บัณฑิตไว้อย่างแน่นอน มันจะกลายเป็นอดีตในไม่ช้านี้แล้ว สำหรับในอนาคตคงจะนำความรู้นี้ไปใช้ในสิ่งที่ดีและท่านอาจารย์อาจคาดไม่ถึง... แต่อย่างเสีย จะไม่ให้ใครมาตำหนิได้ว่าจบ ป.บัณฑิตมาได้อย่างไร มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงต้องไม่เสียใจที่เคยรับคนอย่างฉันเป็นนักศึกษาที่นี้..เพราะอย่างน้อยฉันก็เคยได้รับเงินทุนการศึกษาโครงการเรียนดีมีน้ำใจ ถึงไม่มากด้วยจำนวน หากแต่ว่ามากด้วยน้ำใจ แต่ถ้าจะให้ดีขอทุนเรียนปริญญาเอกด้วยได้ไหมค่ะ มีทุนของตนเองอยู่เหมือนกันแต่เกรงว่าจะไม่พอ ถ้ามหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงจะให้โอกาสก็คงจะน้อมรับด้วยความยินดียิ่ง และถ้าไม่ให้อย่างไรเสียก็ขอขอบคุณแต่ไม่ง้อนะค่ะ ฝังไว้ใต้ถุนบ้านอีกตั้งหลายไห...คร้า...

ดังดอกไม้บาน

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

'ธงทอง' ติงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ทั้งแบ่งท่อน ขาดตอน

นำเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป จนเด็กเข้าใจกำเนิดของชาติไทยผิด เสนอสร้างดุลยภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยไม่ลืมรากเหง้า ไม่ทอดทิ้ง ละเลย สิ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิม
เมื่อเร็วๆนี้  รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง ต้นไม้ไม่ลืมราก (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงาน “สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคม : Best Practice from LabSchools” ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบประเทศเป็นต้นไม้  การศึกษา คือ รากแก้ว รากฝอย  ต้นไม้ที่จะยั่งยืนได้ จำเป็นที่จะต้องมีรากแก้วและรากฝอย ต้นไม้ที่รากสั้น รากไม่มีคุณภาพจะไม่มีความหมาย เป็นเพียงต้นไม้ล้มลุกและอยู่ได้ไม่นาน
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในอนาคตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ต้องไม่เพียงแต่หยุดอยู่กับที่ หรืออยู่กับอดีตที่หอมหวาน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้เกิดสัดส่วนที่พอดีระหว่างของเก่าและของใหม่ ต้องรู้จักรากเหง้าของตนเอง สร้างดุลยภาพในการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย สิ่งที่เรามีมาแต่ดั้งเดิม
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องสอนให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้  อาจจะไม่ต้องพูดและอธิบายมาก แต่ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็น  เพื่อช่วยรักษาหลักการที่มีอยู่ในชีวิตว่า สิ่งใดควร ไม่ควร ความรู้อย่างนี้ เป็นของที่ต้องถ่ายทอด ต้องบอกเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลยในเมืองไทย เช่น  เทศกาลสงกรานต์  การรดน้ำสงกรานต์ผู้ใหญ่ ก็ยังมีธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง หลายคนนิยมรดน้ำสงกรานต์คนที่มีตำแหน่งใหญ่โต แม้จะอายุน้อย ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควร เพราะการรดน้ำนั้นต้องรดเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ รศ.ธงทอง กล่าวว่า การสอนมากหรือสอนน้อย เป็นเพียงโจทย์หนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเนื้อหาในการสอน ซึ่งข้ออ่อนด้อยที่ต้องระมัดระวัง คือ การสร้างความรู้สึกว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่เหนือกว่าเพื่อนบ้าน หรือการเน้นเพียงการสอนว่า มีการได้การเสียดินแดนอยู่อย่างไรตลอดเวลา
“เราจะจดจำตัวเลข  พ.ศ. 2310 ว่าอยุธยาเสียกรุง แต่การที่เราไปตีเวียงจันทน์ ตีนครธมเรากลับจำไม่ได้ เพราะไม่ใส่ไว้ในหลักสูตร ไทยไปเอาของประเทศอื่นมาวันไหน ทำให้เราได้เห็นภาพ วันที่ฟุตบอลไทยชิงกับพม่า คนไทยก็เชียร์กันสุดใจ คิดว่า เขาคือศัตรู และเขมรก็เป็นทาส  แต่ถ้าในบริบทของความเป็นอาเซียนในอนาคต หากเรายังสอนพม่าเป็นศัตรู เขมรเป็นทาส ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร”
รศ.ธงทอง กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนของประเทศไทย ยังคงปลูกจิตสำนึกจากประวัติศาสตร์ขาดตอนที่เป็นประวัติศาสตร์ที่แบ่งท่อนเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป ทำให้เด็กเข้าใจการกำเนิดของชาติไทยที่ผิดไป ไม่เข้าใจการปกครองว่า สมัยก่อนมีการกระจายอำนาจการปกครองที่ต่างกัน หรือในอดีตจะมีกษัตริย์เป็นเจ้าแบ่งเป็นแว่นแคว้น
“การทำให้เราเห็นประวัติศาสตร์เต็มรูป ในการหาเหตุผลในอดีต จะเป็นบริบทของการตัดสินใจในเวลานั้นๆ เพราะหากเอาเรื่องราวในอดีต 400 ปีมานั่งโกรธกัน เหตุการณ์ก็จะเหมือนภาคใต้ในวันนี้ที่ทะเลาะเบาะแว้ง สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และอยู่กับโลกปัจจุบัน คือ การแสดงให้เห็นรากเหง้า ที่มาที่ไปว่า เรามาจากที่ไหน ในชุมชนเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ ดีเอ็นเอ บางระจัน”  รศ.ธงทอง กล่าว และว่า ความเป็นคนไทยแท้จริงไม่ได้อยู่ที่สายโลหิต คนรุ่นลูกรุ่นหลานต้องเรียนรู้ สร้างสิ่งเรียนรู้ที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็นรากเหง้าของบ้านเรา วิถีชีวิตที่สามารถทำให้กลมกลืนกับการศึกษาได้ ให้รู้สึกเป็นของใกล้ตัว  ไม่ห่างจากความเป็นตัวตน  เกิดความภาคภูมิใจในตัวตนของเขา และพร้อมรับเอาสิ่งใหม่ๆ
นำเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป จนเด็กเข้าใจกำเนิดของชาติไทยผิด เสนอสร้างดุลยภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยไม่ลืมรากเหง้า ไม่ทอดทิ้ง ละเลย สิ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิม
เมื่อเร็วๆนี้  รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง ต้นไม้ไม่ลืมราก (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงาน “สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคม : Best Practice from LabSchools” ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบประเทศเป็นต้นไม้  การศึกษา คือ รากแก้ว รากฝอย  ต้นไม้ที่จะยั่งยืนได้ จำเป็นที่จะต้องมีรากแก้วและรากฝอย ต้นไม้ที่รากสั้น รากไม่มีคุณภาพจะไม่มีความหมาย เป็นเพียงต้นไม้ล้มลุกและอยู่ได้ไม่นาน
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในอนาคตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ต้องไม่เพียงแต่หยุดอยู่กับที่ หรืออยู่กับอดีตที่หอมหวาน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้เกิดสัดส่วนที่พอดีระหว่างของเก่าและของใหม่ ต้องรู้จักรากเหง้าของตนเอง สร้างดุลยภาพในการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย สิ่งที่เรามีมาแต่ดั้งเดิม
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องสอนให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้  อาจจะไม่ต้องพูดและอธิบายมาก แต่ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็น  เพื่อช่วยรักษาหลักการที่มีอยู่ในชีวิตว่า สิ่งใดควร ไม่ควร ความรู้อย่างนี้ เป็นของที่ต้องถ่ายทอด ต้องบอกเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลยในเมืองไทย เช่น  เทศกาลสงกรานต์  การรดน้ำสงกรานต์ผู้ใหญ่ ก็ยังมีธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง หลายคนนิยมรดน้ำสงกรานต์คนที่มีตำแหน่งใหญ่โต แม้จะอายุน้อย ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควร เพราะการรดน้ำนั้นต้องรดเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ รศ.ธงทอง กล่าวว่า การสอนมากหรือสอนน้อย เป็นเพียงโจทย์หนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเนื้อหาในการสอน ซึ่งข้ออ่อนด้อยที่ต้องระมัดระวัง คือ การสร้างความรู้สึกว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่เหนือกว่าเพื่อนบ้าน หรือการเน้นเพียงการสอนว่า มีการได้การเสียดินแดนอยู่อย่างไรตลอดเวลา
“เราจะจดจำตัวเลข  พ.ศ. 2310 ว่าอยุธยาเสียกรุง แต่การที่เราไปตีเวียงจันทน์ ตีนครธมเรากลับจำไม่ได้ เพราะไม่ใส่ไว้ในหลักสูตร ไทยไปเอาของประเทศอื่นมาวันไหน ทำให้เราได้เห็นภาพ วันที่ฟุตบอลไทยชิงกับพม่า คนไทยก็เชียร์กันสุดใจ คิดว่า เขาคือศัตรู และเขมรก็เป็นทาส  แต่ถ้าในบริบทของความเป็นอาเซียนในอนาคต หากเรายังสอนพม่าเป็นศัตรู เขมรเป็นทาส ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร”
รศ.ธงทอง กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนของประเทศไทย ยังคงปลูกจิตสำนึกจากประวัติศาสตร์ขาดตอนที่เป็นประวัติศาสตร์ที่แบ่งท่อนเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป ทำให้เด็กเข้าใจการกำเนิดของชาติไทยที่ผิดไป ไม่เข้าใจการปกครองว่า สมัยก่อนมีการกระจายอำนาจการปกครองที่ต่างกัน หรือในอดีตจะมีกษัตริย์เป็นเจ้าแบ่งเป็นแว่นแคว้น
“การทำให้เราเห็นประวัติศาสตร์เต็มรูป ในการหาเหตุผลในอดีต จะเป็นบริบทของการตัดสินใจในเวลานั้นๆ เพราะหากเอาเรื่องราวในอดีต 400 ปีมานั่งโกรธกัน เหตุการณ์ก็จะเหมือนภาคใต้ในวันนี้ที่ทะเลาะเบาะแว้ง สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และอยู่กับโลกปัจจุบัน คือ การแสดงให้เห็นรากเหง้า ที่มาที่ไปว่า เรามาจากที่ไหน ในชุมชนเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ ดีเอ็นเอ บางระจัน”  รศ.ธงทอง กล่าว และว่า ความเป็นคนไทยแท้จริงไม่ได้อยู่ที่สายโลหิต คนรุ่นลูกรุ่นหลานต้องเรียนรู้ สร้างสิ่งเรียนรู้ที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็นรากเหง้าของบ้านเรา วิถีชีวิตที่สามารถทำให้กลมกลืนกับการศึกษาได้ ให้รู้สึกเป็นของใกล้ตัว  ไม่ห่างจากความเป็นตัวตน  เกิดความภาคภูมิใจในตัวตนของเขา และพร้อมรับเอาสิ่งใหม่ๆ
นำเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป จนเด็กเข้าใจกำเนิดของชาติไทยผิด เสนอสร้างดุลยภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยไม่ลืมรากเหง้า ไม่ทอดทิ้ง ละเลย สิ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิม
เมื่อเร็วๆนี้  รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง ต้นไม้ไม่ลืมราก (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงาน “สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคม : Best Practice from LabSchools” ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบประเทศเป็นต้นไม้  การศึกษา คือ รากแก้ว รากฝอย  ต้นไม้ที่จะยั่งยืนได้ จำเป็นที่จะต้องมีรากแก้วและรากฝอย ต้นไม้ที่รากสั้น รากไม่มีคุณภาพจะไม่มีความหมาย เป็นเพียงต้นไม้ล้มลุกและอยู่ได้ไม่นาน
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในอนาคตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ต้องไม่เพียงแต่หยุดอยู่กับที่ หรืออยู่กับอดีตที่หอมหวาน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้เกิดสัดส่วนที่พอดีระหว่างของเก่าและของใหม่ ต้องรู้จักรากเหง้าของตนเอง สร้างดุลยภาพในการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย สิ่งที่เรามีมาแต่ดั้งเดิม
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องสอนให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้  อาจจะไม่ต้องพูดและอธิบายมาก แต่ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็น  เพื่อช่วยรักษาหลักการที่มีอยู่ในชีวิตว่า สิ่งใดควร ไม่ควร ความรู้อย่างนี้ เป็นของที่ต้องถ่ายทอด ต้องบอกเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลยในเมืองไทย เช่น  เทศกาลสงกรานต์  การรดน้ำสงกรานต์ผู้ใหญ่ ก็ยังมีธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง หลายคนนิยมรดน้ำสงกรานต์คนที่มีตำแหน่งใหญ่โต แม้จะอายุน้อย ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควร เพราะการรดน้ำนั้นต้องรดเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ รศ.ธงทอง กล่าวว่า การสอนมากหรือสอนน้อย เป็นเพียงโจทย์หนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเนื้อหาในการสอน ซึ่งข้ออ่อนด้อยที่ต้องระมัดระวัง คือ การสร้างความรู้สึกว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่เหนือกว่าเพื่อนบ้าน หรือการเน้นเพียงการสอนว่า มีการได้การเสียดินแดนอยู่อย่างไรตลอดเวลา
“เราจะจดจำตัวเลข  พ.ศ. 2310 ว่าอยุธยาเสียกรุง แต่การที่เราไปตีเวียงจันทน์ ตีนครธมเรากลับจำไม่ได้ เพราะไม่ใส่ไว้ในหลักสูตร ไทยไปเอาของประเทศอื่นมาวันไหน ทำให้เราได้เห็นภาพ วันที่ฟุตบอลไทยชิงกับพม่า คนไทยก็เชียร์กันสุดใจ คิดว่า เขาคือศัตรู และเขมรก็เป็นทาส  แต่ถ้าในบริบทของความเป็นอาเซียนในอนาคต หากเรายังสอนพม่าเป็นศัตรู เขมรเป็นทาส ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร”
รศ.ธงทอง กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนของประเทศไทย ยังคงปลูกจิตสำนึกจากประวัติศาสตร์ขาดตอนที่เป็นประวัติศาสตร์ที่แบ่งท่อนเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป ทำให้เด็กเข้าใจการกำเนิดของชาติไทยที่ผิดไป ไม่เข้าใจการปกครองว่า สมัยก่อนมีการกระจายอำนาจการปกครองที่ต่างกัน หรือในอดีตจะมีกษัตริย์เป็นเจ้าแบ่งเป็นแว่นแคว้น
“การทำให้เราเห็นประวัติศาสตร์เต็มรูป ในการหาเหตุผลในอดีต จะเป็นบริบทของการตัดสินใจในเวลานั้นๆ เพราะหากเอาเรื่องราวในอดีต 400 ปีมานั่งโกรธกัน เหตุการณ์ก็จะเหมือนภาคใต้ในวันนี้ที่ทะเลาะเบาะแว้ง สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และอยู่กับโลกปัจจุบัน คือ การแสดงให้เห็นรากเหง้า ที่มาที่ไปว่า เรามาจากที่ไหน ในชุมชนเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ ดีเอ็นเอ บางระจัน”  รศ.ธงทอง กล่าว และว่า ความเป็นคนไทยแท้จริงไม่ได้อยู่ที่สายโลหิต คนรุ่นลูกรุ่นหลานต้องเรียนรู้ สร้างสิ่งเรียนรู้ที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็นรากเหง้าของบ้านเรา วิถีชีวิตที่สามารถทำให้กลมกลืนกับการศึกษาได้ ให้รู้สึกเป็นของใกล้ตัว  ไม่ห่างจากความเป็นตัวตน  เกิดความภาคภูมิใจในตัวตนของเขา และพร้อมรับเอาสิ่งใหม่ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น