คำปรารภ

คำปรารภ
รูปนี้ถ่ายเมือวันที่ไปเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อประมาณมีนาคม 2553 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต...แต่แล้วชีวิตก็หักเหอีกครั้ง เมื่อฉันตัดสินใจเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาวิชาชีพครู หลายคนบอกฉันว่าดี หลายคนบอกว่าฉันถอยหลังเข้าคลองหรือเปล่า แต่สำหรับตัวฉันเองฉันคิดว่าไม่ว่าจะจบสาขาใดมาก็ตาม สิ่งที่ควรจะต้องศึกษาเพิ่มเติมด้วยอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ วิชาว่าด้วยความเป็นครู แหละฉันก็ยังคงเชื่อมั่นว่าฉันไม่ได้คิดผิด ฉันเป็นผู้ที่ชอบเรียนหนังสือทุกรูปแบบไม่ว่าเป็นเรื่องใด ฉันสนใจและเห็นว่าเป็นประโยชน์ทั้งหมด ฉันเคยเป็นนักเรียนผ่านระบบการเรียนแบบ e-learning Virtual classroom ตั้งแต่ประมาณปี 47-49 เรียนผ่าน CAI /Multimedia ผ่านสื่อหลายชนิด บ่อยครั้งก็ฟังเทศน์ออนไลน์ บางครั้งก็ไปนั่งฟังพระเทศน์ หรือผู้เฒ่าผู้แก่ หรือแม้กระทั่งเด็กเล็กๆ ซึ่งบางครั้งก็สามารถแนะนำทางออกของปัญหาต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจและเป็นประโยชน์ได้ไม่น้อย ถ้าถามว่าฉันจะเรียนอะไรต่ออีกไหม แน่นอนว่าน้ำหน้าอย่างฉันคงเป็นไปไม่ได้ที่ฉันจะไม่เรียน ว่าแต่ว่าจะเรียนอะไร ปริญญาเอก หรือหลักสูตรใดที่ฉันสนใจ ก็คงจะต้องให้จบหลักสูตรนี้ก่อนซึ่งก็ใกล้ความจริงเข้ามาแล้ว ไม่ต้องให้กำลังใจก็ได้ แต่ถ้าจะให้กำลังใจกันก็ขอขอบคุณนะค่ะ แต่คนเราถ้ามัวแต่รอกำลังใจจากผู้อื่นอยู่บางครั้งอาจหมดกำลังใจไปก่อนก็ได้ เพราะผู้คนสมัยนี้นอกจากไม่ค่อยให้กำลังใจกันแล้ว ยังทำร้ายจิตใจบั่นทอนกำลังใจของผู้อื่น เห็นกันบ่อยจนชินหูชินตา ฉันคงเก็บความทรงจำส่วนที่น่าประทับใจของการเรียน ป.บัณฑิตไว้อย่างแน่นอน มันจะกลายเป็นอดีตในไม่ช้านี้แล้ว สำหรับในอนาคตคงจะนำความรู้นี้ไปใช้ในสิ่งที่ดีและท่านอาจารย์อาจคาดไม่ถึง... แต่อย่างเสีย จะไม่ให้ใครมาตำหนิได้ว่าจบ ป.บัณฑิตมาได้อย่างไร มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงต้องไม่เสียใจที่เคยรับคนอย่างฉันเป็นนักศึกษาที่นี้..เพราะอย่างน้อยฉันก็เคยได้รับเงินทุนการศึกษาโครงการเรียนดีมีน้ำใจ ถึงไม่มากด้วยจำนวน หากแต่ว่ามากด้วยน้ำใจ แต่ถ้าจะให้ดีขอทุนเรียนปริญญาเอกด้วยได้ไหมค่ะ มีทุนของตนเองอยู่เหมือนกันแต่เกรงว่าจะไม่พอ ถ้ามหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงจะให้โอกาสก็คงจะน้อมรับด้วยความยินดียิ่ง และถ้าไม่ให้อย่างไรเสียก็ขอขอบคุณแต่ไม่ง้อนะค่ะ ฝังไว้ใต้ถุนบ้านอีกตั้งหลายไห...คร้า...

ดังดอกไม้บาน

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

กทม.เล็งบรรจุหลักสูตร ‘โตไปไม่โกง' ปลูกจิตสำนึกเยาวชนไทย

กทม . เดินหน้าโครงการโตไปไม่โกง เตรียมเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนกทม. ปลูกจิตใต้สำนึกเยาวชนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น คาดดำเนินการได้ในช่วงเดือนหน้า นำร่องนำครูเข้าฝึกอบรม  1,400 คน
เมื่อเร็วๆ นี้ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนกทมเพื่อปลูกจิตใต้สำนึกด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยมีนางนินนาท ชลิตานนท์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร นายโกสิน เทศวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กทม. รศ. จุรี วิจิตรวาทการ ตัวแทนจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกทม.
นางทยา กล่าวถึงปัญหาการทุจริตคอรัปชันว่า เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนเห็นตรงกัน ว่าเป็นสิ่งที่กัดกร่อนสังคมไทยและนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ทั้งในเรื่องของความยากจน ความด้อยพัฒนา การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การเอาเปรียบกันอย่างไม่เคารพกติกา ฯลฯ  กรุงเทพมหานครเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างคุณค่าและปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชนตั้งแต่วัยเยาว์ โดยการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนกทม.เพื่อปลูกจิตใต้สำนึกด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นจึงได้เกิด โครงการโตไปไม่โกง เพื่อบรรจุเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนของกรุงเทพมหานคร
“จุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดจริยธรรมขึ้นในจิตใจ ทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้ และเกิดความกล้าหาญทางจริยธรรมต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง โดยให้นึกถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ทั้งนี้โรงเรียนจะเป็นสถาบันหลักทางสังคมที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการหล่อหลอมให้เยาวชนไทยเติบโตเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี เชื่อมั่นในความสุจริต และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน”
สำหรับโครงการโตไปไม่โกง (Anti Corruption) มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลและประถมศึกษา โดยมุ่งเน้นเรื่องการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่สอดคล้องกับการป้องกันและแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ทั้งฝึกอบรมครูผู้สอนชั้นอนุบาลและประถมศึกษาให้มีความเข้าใจในเนื้อหา และมีทักษะที่เพียงพอในการสื่อสารสามารถถ่ายทอดแนวคิดเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชั่นไปสู่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งเผยแพร่และรณรงค์เรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นไปสู่สาธารณชนในวงกว้างให้ได้รับรู้ถึงความมุ่งมั่นของกรุงเทพมหานคร ในการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีค่านิยมและจิตสำนึกที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว จะสามารถเริ่มดำเนินงานตามแผนนโยบายได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2553 กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ครูและนักเรียนระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษา 1-3 สังกัดโรงเรียนกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นครูนำร่องที่จะเข้ารับการฝึกอบรม ทั้งหมด 1,400 คน โดยเป็นครูที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและจากการคัดเลือก รวมถึงการผลิตคู่มือและสื่อการเรียนรู้ให้แก่ครูและนักเรียนชั้นอนุบาลและนักเรียนชั้นประถมเพื่อประกอบการเรียนรู้อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น