คำปรารภ

คำปรารภ
รูปนี้ถ่ายเมือวันที่ไปเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อประมาณมีนาคม 2553 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต...แต่แล้วชีวิตก็หักเหอีกครั้ง เมื่อฉันตัดสินใจเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาวิชาชีพครู หลายคนบอกฉันว่าดี หลายคนบอกว่าฉันถอยหลังเข้าคลองหรือเปล่า แต่สำหรับตัวฉันเองฉันคิดว่าไม่ว่าจะจบสาขาใดมาก็ตาม สิ่งที่ควรจะต้องศึกษาเพิ่มเติมด้วยอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ วิชาว่าด้วยความเป็นครู แหละฉันก็ยังคงเชื่อมั่นว่าฉันไม่ได้คิดผิด ฉันเป็นผู้ที่ชอบเรียนหนังสือทุกรูปแบบไม่ว่าเป็นเรื่องใด ฉันสนใจและเห็นว่าเป็นประโยชน์ทั้งหมด ฉันเคยเป็นนักเรียนผ่านระบบการเรียนแบบ e-learning Virtual classroom ตั้งแต่ประมาณปี 47-49 เรียนผ่าน CAI /Multimedia ผ่านสื่อหลายชนิด บ่อยครั้งก็ฟังเทศน์ออนไลน์ บางครั้งก็ไปนั่งฟังพระเทศน์ หรือผู้เฒ่าผู้แก่ หรือแม้กระทั่งเด็กเล็กๆ ซึ่งบางครั้งก็สามารถแนะนำทางออกของปัญหาต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจและเป็นประโยชน์ได้ไม่น้อย ถ้าถามว่าฉันจะเรียนอะไรต่ออีกไหม แน่นอนว่าน้ำหน้าอย่างฉันคงเป็นไปไม่ได้ที่ฉันจะไม่เรียน ว่าแต่ว่าจะเรียนอะไร ปริญญาเอก หรือหลักสูตรใดที่ฉันสนใจ ก็คงจะต้องให้จบหลักสูตรนี้ก่อนซึ่งก็ใกล้ความจริงเข้ามาแล้ว ไม่ต้องให้กำลังใจก็ได้ แต่ถ้าจะให้กำลังใจกันก็ขอขอบคุณนะค่ะ แต่คนเราถ้ามัวแต่รอกำลังใจจากผู้อื่นอยู่บางครั้งอาจหมดกำลังใจไปก่อนก็ได้ เพราะผู้คนสมัยนี้นอกจากไม่ค่อยให้กำลังใจกันแล้ว ยังทำร้ายจิตใจบั่นทอนกำลังใจของผู้อื่น เห็นกันบ่อยจนชินหูชินตา ฉันคงเก็บความทรงจำส่วนที่น่าประทับใจของการเรียน ป.บัณฑิตไว้อย่างแน่นอน มันจะกลายเป็นอดีตในไม่ช้านี้แล้ว สำหรับในอนาคตคงจะนำความรู้นี้ไปใช้ในสิ่งที่ดีและท่านอาจารย์อาจคาดไม่ถึง... แต่อย่างเสีย จะไม่ให้ใครมาตำหนิได้ว่าจบ ป.บัณฑิตมาได้อย่างไร มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงต้องไม่เสียใจที่เคยรับคนอย่างฉันเป็นนักศึกษาที่นี้..เพราะอย่างน้อยฉันก็เคยได้รับเงินทุนการศึกษาโครงการเรียนดีมีน้ำใจ ถึงไม่มากด้วยจำนวน หากแต่ว่ามากด้วยน้ำใจ แต่ถ้าจะให้ดีขอทุนเรียนปริญญาเอกด้วยได้ไหมค่ะ มีทุนของตนเองอยู่เหมือนกันแต่เกรงว่าจะไม่พอ ถ้ามหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงจะให้โอกาสก็คงจะน้อมรับด้วยความยินดียิ่ง และถ้าไม่ให้อย่างไรเสียก็ขอขอบคุณแต่ไม่ง้อนะค่ะ ฝังไว้ใต้ถุนบ้านอีกตั้งหลายไห...คร้า...

ดังดอกไม้บาน

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

นักการศึกษาร่วมถกแนวปฏิรูปรอบ2 “ทำอย่างไรให้สำเร็จ”

ชัยอนันต์” จี้ปฏิรูปการศึกษารอบ2 ต้องมีจุดคานงัดคุณภาพการศึกษา พุ่งไปที่ตัวครูและบทบาท แนะถึงเวลาจัดการและแลกเปลี่ยนความรู้แก่กัน ด้าน “รองอธิการบดีฯ มธบ.”  ย้ำการปฏิรูปแล้วต้องเกิดพลังเปลี่ยนแปลงคน-สังคม-ปท. ส่วน “กรรมการฯ สมศ.” ค้านทำหลายเรื่อง พร้อมเสนอนำครูคนแรกของเด็กร่วมกระบวนการด้วย

เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานสถาบันนโยบายศึกษา กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองในเวทีเสวนาวิชาการ “การปฏิรูปการศึกษา 10 ปีแห่งอดีตและ 10 ปีแห่งอนาคต” ณ ห้องประชุมนานาชาติ อาคารประชุมสุข อาชวอำรุง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า ควรต้องมีจุดคานงัดในการทำให้การศึกษาไทยมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งต้องมุ่งไปที่ครูและบทบาทของครู ขณะเดียวกันต้องทำเรื่องการจัดการความรู้ และการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ (Knowledge Management and Sharing) ระหว่างกัน เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยมีการจัดการตรงนี้  และต้องนำบทเรียนของการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรกมาใช้
ศ.ดร.ชัยอนันต์ กล่าวว่า บทบาทของครูต้องมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เป็นเรื่องสำคัญที่สุดและยาก  การพัฒนาครูต้องมุ่งผลิตครูในระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ที่ผลิตครูนั้นต้องคิดให้มากกว่าการผลิตครูที่ต้องเรียนอย่างน้อย 5 ปี หรือผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ต้องจบบริหารจัดการศึกษา และนักครุศาสตร์ต้องทบทวนว่า ตนเองจะต้องผ่านทักษะอะไรบ้างเพื่อมาเป็นนักครุศาสตร์ เช่น ต้องมีทักษะการคิด ดังนั้นการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแก่ผู้จะมาเป็นครูควรจะมีการฝึกอบรมทักษะคิดแบบวิทยาศาสตร์ ทักษะการใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ หรืออย่างน้อยครูต้องมีความรู้รอบตัวว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ต้องรู้ว่า ถ้าโลกเปลี่ยนแปลงแล้วจะสอนผู้เรียนได้อย่างไร ฯลฯ ครูในยุคใหม่ต้องมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นชี้แนะการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
“การปฏิรูปครูต้องทำในทุกกระบวนการ การปฏิรูปการศึกษาเพื่อคุณภาพของเด็กนักเรียนนั้นจะไม่มีอนาคต ถ้าไม่ทำกับครูก่อน ครูต้องมีคุณภาพ และถ้าอยากสร้างโรงเรียนที่มีคุณภาพก็ต้องมีเงินไปจ้างครูดีๆ เก่งๆมา ซึ่งประเทศไทยจะไม่มีวันเจริญตราบใดที่เงินเดือนครูยังต่ำขนาดนี้”
สำหรับหลักสูตรการสอนนั้น ประธานสถาบันนโยบายศึกษา กล่าวว่า ควรมีสัดส่วนการเรียนรู้ของผู้เรียนระหว่างความรู้เนื้อหาวิชาการกับทักษะการทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ชัดเจน ควรให้ผู้เรียนมีการทำกิจกรรม 30% แล้วเรียนรู้สาระวิชาอีก 70% เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถาม สืบค้นข้อมูล และเพิ่มทักษะการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง ซึ่งต้องเน้นการเรียนรู้แบบปฏิบัติ ทำให้แต่ละวันผู้เรียนได้ใช้ทักษะในการเรียนรู้ เพราะถ้าไม่รู้ในเรื่องทักษะแล้วผู้เรียนก็ไม่สามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระได้ โดยเฉพาะการเลือก หรือแยกแยะข้อมูลที่ความจำเป็นต่อความรู้ในเรื่องนั้นๆ ต้องสร้างทักษะด้านการใช้ภาษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการเรียนรู้ การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาเด็กไทยสื่อสารและทำอะไรร่วมกับผู้อื่นในลักษณะแบบกลุ่มน้อยมาก และการแนะแนวการศึกษาก็ต้องทำในลักษณะแนะแนวอาชีพให้มากกว่าแค่การแนะนำเพียงเรื่องความประพฤตินักเรียน
“เรื่องการบริหารการศึกษาระวังอย่าตกไปเป็นกับดักของการปฏิรูปการศึกษาด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างทางการศึกษาอีก หากจะทำเรื่องนี้ก็มีเรื่องเดียว คือ เรื่องการโอนถ่ายการศึกษา การกระจายอำนาจทางการศึกษา ในท้ายที่สุดในระยะยาวคงจะหนีไม่พ้นที่จะต้องให้การจัดการคุณภาพการศึกษาไปอยู่กับท้องถิ่น เพราะประชาชนเป็นหน่วยที่ใกล้ชิดที่สุด ถ้าเราสามารถกระตุ้นให้ประชาชนรู้ถึงความสำคัญของการศึกษา และรู้ถึงว่าการศึกษาสามารถทำได้ดีโดยท้องถิ่น ท้องถิ่นสามารถทำโรงเรียนให้ดีได้ เราต้องไม่ใช่แค่ให้ท้องถิ่นเป็นเพียงคณะกรรมการโรงเรียนเท่านั้น ต้องให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการโรงเรียนด้วย” ศ.ดร.ชัยอนันต์ กล่าว
ด้านดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงภาพรวมการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ว่า ควรพิจารณาถึงประเด็นการปฏิรูปครั้งนี้ต้องทำเพื่อให้เกิดพลังทางการศึกษาเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคนและสังคมไทยในอนาคต เนื่องจากแนวทางขณะนี้ยังเน้นที่การเปลี่ยนแปลงงานประจำของบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งไม่ใช่งานการปฏิรูปการศึกษาจริงๆ หากปฏิรูปแบบนี้การศึกษาจะไม่มีพลังเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย ปฏิรูปหรือไม่ปฏิรูปก็จะเหมือนกัน ดังนั้นผู้ที่ดูแลทิศทางและแนวนโยบายปฏิรูปต้องกลับมาคิดว่า จะทำให้การศึกษาเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เป้าหมายการปฏิรูปต้องชัดเจนควรกำหนดให้ชัดว่าการเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุขต้องเป็นอย่างไร คนไทยใน 10 ปีข้างหน้าควรเป็นเช่นใด เนื่องจากขณะนี้ความเข้าใจและความชัดเจนในเรื่องนี้ยังไม่ตรงกันนัก หากไม่กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนก็จะล้มเหลวอีกครั้ง
ดร.ไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า การคัดสรรคนที่เก่งมาเป็นครูนั้นเมื่อได้มาแล้วต้องการให้ครูทำอะไรบ้าง ต้องมีการตั้งเป้าอบรมครูเพื่อพัฒนาเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการสอนให้มีคุณภาพ ไม่ใช่แค่อบรมแค่เนื้อหาวิชาการ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์การสอน บทบาทหน้าที่ของครูอย่างจริงจัง อาจต้องเปลี่ยนปรัชญาการผลิตครูใหม่ด้วย ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาต้องกระตือรือร้นมีส่วนผลักดันการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ภาคอุดมศึกษาต้องพลิกโฉมวิธีการคิดจากที่เป็นอยู่ ต้องมีจิตวิญญาณความเป็นมหาวิทยาลัย
"การปฏิรูปการศึกษาต้องเชื่อมโยงความร่วมมือทุกระดับและทุกภาคส่วน ไม่ใช่ต่างคนต่างคิดและทำ  ต้องปรับปรุงเกณฑ์วิทยฐานะครู รับเปลี่ยนระบบการสอบแบบแอดมิชชั่น เพราะระบบนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาเดิมของการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ต้องเข้ามามีบทบาทต้องมองว่าสุดท้ายการศึกษาที่มีคุณภาพต้องเป็นอย่างไรนำมาเป็นตัวกำหนดเพื่อแจงเป็นแนวปฏิบัติที่ไม่ซับซ้อนและยุ่งยากจนเกินไป"รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มธบ. กล่าว และว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม การเปลี่ยนแปลงประเทศ และการเปลี่ยนแปลงคนในอนาคตให้ได้ อุดมศึกษาไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแบบเดิมบริโภคนิยม มุ่งการเป็นอาชีพชั้นสูงอยู่ทั้งสิ้น จิตวิญญาณของอุดมที่จะสร้างคนเพื่อการเปลี่ยนแปลง สร้างคนเพื่อพัฒนาเป็นผู้นำต่อไปในอนาคต เหล่านี้เกือบไม่มีการพูดคุยในการอุดมศึกษาเลย วิญญาณของมหาวิทยาลัยปัจจุบันไม่ค่อยมีใครพูดถึงต่อไปแล้ว มหาวิทยาลัยไม่ได้มีหน้าที่แค่ผลิตคน แต่ต้องสร้างสติปัญญา สร้างความเป็นมนุษย์ และต้องสร้างสังคมให้แก่โลกและประเทศ ดังนั้นถ้าจะปฏิรูปรอบ2ถ้าไม่คิดให้ต่างจากเดิมก็จะไม่มีวันประสบความสำเร็จ
ส่วนดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ กรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (สมศ.) กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาใน 10 ปีที่แล้วนั้นเป็นเพียงการยกเครื่องการศึกษา ครั้งนี้ไม่ควรจะทำเรื่องนั้นอีก รอบนี้คิดว่าไม่ควรทำหลายเรื่อง ควรทำน้อยเรื่องแต่ให้ได้ผลที่มาก มุ่งเน้นไปที่งานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการศึกษา มุ่งที่ครูผู้สอน ผู้บริหาร และผู้เรียน และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาต้องมุ่งที่การสร้างการเรียนรู้ การปฏิรูปการศึกษารอบนี้ต้องปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้ได้ จากนั้นค่อยเชื่อมโยงมาสู่การจัดการหลักสูตร และเรื่องของซีวิคเอ็ดดูเคชั่น (Civic Education) และควรต้องมีการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาด้วย
“การศึกษาต้องนำเรื่องครูคนที่ 1 ก็คือพ่อและแม่เข้ามาในการสอนด้วย เพราะเราพลาดพลั้งที่ไม่นำเอาครูคนแรกของเด็กมาเข้ากระบวนการ ส่วนครูคนที่ 2 ต้องเป็นครูคนใหม่ๆ ที่ควรมาจากระบบการผลิตครูแบบปิด ไม่ควรผลิตครูในระบบเปิดเพราะครูต้องเป็นวิชาชีพชั้นสูง การคัดสรรที่ผ่านมา เราพลาดพลั้ง เราต้องฟื้นความเป็นวิชาชีพชั้นสูงว่าคืออะไร ซึ่งคิดว่าต้องผลิตครูพันธุ์ใหม่ ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา และต้องมีการพัฒนาครูประจำการด้วย” ดร.สมหวัง กล่าว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น