คำปรารภ

คำปรารภ
รูปนี้ถ่ายเมือวันที่ไปเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรเมื่อประมาณมีนาคม 2553 ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต...แต่แล้วชีวิตก็หักเหอีกครั้ง เมื่อฉันตัดสินใจเรียนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาวิชาชีพครู หลายคนบอกฉันว่าดี หลายคนบอกว่าฉันถอยหลังเข้าคลองหรือเปล่า แต่สำหรับตัวฉันเองฉันคิดว่าไม่ว่าจะจบสาขาใดมาก็ตาม สิ่งที่ควรจะต้องศึกษาเพิ่มเติมด้วยอีกเรื่องหนึ่ง ก็คือ วิชาว่าด้วยความเป็นครู แหละฉันก็ยังคงเชื่อมั่นว่าฉันไม่ได้คิดผิด ฉันเป็นผู้ที่ชอบเรียนหนังสือทุกรูปแบบไม่ว่าเป็นเรื่องใด ฉันสนใจและเห็นว่าเป็นประโยชน์ทั้งหมด ฉันเคยเป็นนักเรียนผ่านระบบการเรียนแบบ e-learning Virtual classroom ตั้งแต่ประมาณปี 47-49 เรียนผ่าน CAI /Multimedia ผ่านสื่อหลายชนิด บ่อยครั้งก็ฟังเทศน์ออนไลน์ บางครั้งก็ไปนั่งฟังพระเทศน์ หรือผู้เฒ่าผู้แก่ หรือแม้กระทั่งเด็กเล็กๆ ซึ่งบางครั้งก็สามารถแนะนำทางออกของปัญหาต่างๆ ได้อย่างน่าสนใจและเป็นประโยชน์ได้ไม่น้อย ถ้าถามว่าฉันจะเรียนอะไรต่ออีกไหม แน่นอนว่าน้ำหน้าอย่างฉันคงเป็นไปไม่ได้ที่ฉันจะไม่เรียน ว่าแต่ว่าจะเรียนอะไร ปริญญาเอก หรือหลักสูตรใดที่ฉันสนใจ ก็คงจะต้องให้จบหลักสูตรนี้ก่อนซึ่งก็ใกล้ความจริงเข้ามาแล้ว ไม่ต้องให้กำลังใจก็ได้ แต่ถ้าจะให้กำลังใจกันก็ขอขอบคุณนะค่ะ แต่คนเราถ้ามัวแต่รอกำลังใจจากผู้อื่นอยู่บางครั้งอาจหมดกำลังใจไปก่อนก็ได้ เพราะผู้คนสมัยนี้นอกจากไม่ค่อยให้กำลังใจกันแล้ว ยังทำร้ายจิตใจบั่นทอนกำลังใจของผู้อื่น เห็นกันบ่อยจนชินหูชินตา ฉันคงเก็บความทรงจำส่วนที่น่าประทับใจของการเรียน ป.บัณฑิตไว้อย่างแน่นอน มันจะกลายเป็นอดีตในไม่ช้านี้แล้ว สำหรับในอนาคตคงจะนำความรู้นี้ไปใช้ในสิ่งที่ดีและท่านอาจารย์อาจคาดไม่ถึง... แต่อย่างเสีย จะไม่ให้ใครมาตำหนิได้ว่าจบ ป.บัณฑิตมาได้อย่างไร มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงต้องไม่เสียใจที่เคยรับคนอย่างฉันเป็นนักศึกษาที่นี้..เพราะอย่างน้อยฉันก็เคยได้รับเงินทุนการศึกษาโครงการเรียนดีมีน้ำใจ ถึงไม่มากด้วยจำนวน หากแต่ว่ามากด้วยน้ำใจ แต่ถ้าจะให้ดีขอทุนเรียนปริญญาเอกด้วยได้ไหมค่ะ มีทุนของตนเองอยู่เหมือนกันแต่เกรงว่าจะไม่พอ ถ้ามหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึงจะให้โอกาสก็คงจะน้อมรับด้วยความยินดียิ่ง และถ้าไม่ให้อย่างไรเสียก็ขอขอบคุณแต่ไม่ง้อนะค่ะ ฝังไว้ใต้ถุนบ้านอีกตั้งหลายไห...คร้า...

ดังดอกไม้บาน

วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554

กนป. ตั้ง “ธงทอง” ขับเคลื่อนงานพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง

คณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เห็นชอบหลักการ (ร่าง) ตัวบ่งชี้และเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง 4 หัวข้อ เพื่อให้การปฏิรูปฯ บรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ดำเนินงานตั้งแต่วันนี้ – ปี 2561
วันนี้ (3 มิ.ย.) เมื่อเวลา 09.00 น. ณ ตึกสันติไมตรี (หลังใน) ทำเนียบรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.) ครั้งที่ 3/2553 โดยมีนายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นางสาวนริศรา ชวาลตันพิพัทธ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุมอย่างไรก็ตาม  ที่ประชุมเห็นชอบหลักการ (ร่าง) ตัวบ่งชี้และเป้าหมายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ ทั้งนี้ หน่วยงานที่สำคัญในการขับเคลื่อน จะต้องมียุทธวิธีที่ชัดเจน และมีการรายงานต่อคณะกรรมการฯ เป็นระยะ ๆ โดย (ร่าง) ตัวบ่งชี้ฯ ได้กำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้ สำหรับการดำเนินงานตั้งแต่บัดนี้จนสิ้นสุด พ.ศ. 2561 ใน 4 ข้อ สรุปสาระสำคัญคือ
ข้อ 1 คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากล
ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติ มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 50 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์สูงขึ้น 3) ความสามารถด้านภาษาอังกฤษสูงขึ้น 4) ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศสูงขึ้น 5) ค่าใช้จ่ายการศึกษาภาครัฐเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 5 ต่อจีดีพี
ข้อ 2 คนไทยใฝ่รู้ : สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่าน และแสวงหาความรู้อย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย 1) ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี ของ สมศ. 2) อัตราการรู้หนังสือของประชากร (อายุ 15 - 60 ปี) เป็นร้อยละ 100 3) ผู้เข้ารับบริการในแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นปีละอย่างน้อยร้อยละ 10 4) คนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน / นอกเวลาทำงาน โดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ 60 นาที 5) สัดส่วนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตต่อประชากรอายุ 6 ปีขึ้นไปเป็นร้อยละ 50 6) จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย (อายุ 15 - 59 ปี) เพิ่มขึ้นเป็น 12 ปี
ข้อ 3 คนไทยใฝ่ดี : มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึงประสงค์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย
ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย 1) ผู้เรียนทุกระดับการศึกษามีคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ 2) จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจฯ ลดลง 3) จำนวนเด็กอายุ 19 ปีและต่ำกว่าที่มาทำคลอดลดลง 4) จำนวนเด็กขอรับการบำบัดยาเสพติดลดลง
ข้อ 4 คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ : มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสาร
ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย 1) ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดีของ สมศ. 2) สัดส่วนผู้เรียนอาชีวศึกษาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 60 และผู้สำเร็จการอาชีวศึกษามีสมรรถนะเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้ 3) ผู้สำเร็จอุดมศึกษาทุกคนมีคุณภาพระดับสากล และเป็นไปตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิ
พร้อมกันนี้ ที่ประชุมเห็นชอบการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการ กนป. ด้านการพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง ที่มีศาสตราจารย์บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และคุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เป็นอนุกรรมการที่ปรึกษา รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา เป็นประธานอนุกรรมการ โดยมีอำนาจหน้าที่ 1) เสนอนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง 2) ผลักดัน ขับเคลื่อน และประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำนโยบายและยุทธศาสตร์การปฏิบัติ 3) ติดตาม ประเมินผลการนำนโยบายสู่การปฏิบัติ 4) แต่งตั้งคณะทำงานตามที่เห็นสมควร 5) อื่น ๆ ตามที่คณะกรรมการนโยบายการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง มอบหมาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น