ชัยอนันต์” จี้ปฏิรูปการศึกษารอบ2 ต้องมีจุดคานงัดคุณภาพการศึกษา พุ่งไปที่ตัวครูและบทบาท แนะถึงเวลาจัดการและแลกเปลี่ยนความรู้แก่กัน ด้าน “รองอธิการบดีฯ มธบ.” ย้ำการปฏิรูปแล้วต้องเกิดพลังเปลี่ยนแปลงคน-สังคม-ปท. ส่วน “กรรมการฯ สมศ.” ค้านทำหลายเรื่อง พร้อมเสนอนำครูคนแรกของเด็กร่วมกระบวนการด้วย
เมื่อวันที่ 5 เม.ย. ศ.ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช ประธานสถาบันนโยบายศึกษา กล่าวถึงแนวทางการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองในเวทีเสวนาวิชาการ “การปฏิรูปการศึกษา 10 ปีแห่งอดีตและ 10 ปีแห่งอนาคต” ณ ห้องประชุมนานาชาติ อาคารประชุมสุข อาชวอำรุง คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่า ควรต้องมีจุดคานงัดในการทำให้การศึกษาไทยมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งต้องมุ่งไปที่ครูและบทบาทของครู ขณะเดียวกันต้องทำเรื่องการจัดการความรู้ และการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ (Knowledge Management and Sharing) ระหว่างกัน เพราะที่ผ่านมาไม่ค่อยมีการจัดการตรงนี้ และต้องนำบทเรียนของการปฏิรูปการศึกษาครั้งแรกมาใช้
ศ.ดร.ชัยอนันต์ กล่าวว่า บทบาทของครูต้องมีการเปลี่ยนแปลงทัศนคติ เป็นเรื่องสำคัญที่สุดและยาก การพัฒนาครูต้องมุ่งผลิตครูในระดับปริญญาตรี คณะครุศาสตร์หรือศึกษาศาสตร์ที่ผลิตครูนั้นต้องคิดให้มากกว่าการผลิตครูที่ต้องเรียนอย่างน้อย 5 ปี หรือผู้อำนวยการสถานศึกษาที่ต้องจบบริหารจัดการศึกษา และนักครุศาสตร์ต้องทบทวนว่า ตนเองจะต้องผ่านทักษะอะไรบ้างเพื่อมาเป็นนักครุศาสตร์ เช่น ต้องมีทักษะการคิด ดังนั้นการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรีแก่ผู้จะมาเป็นครูควรจะมีการฝึกอบรมทักษะคิดแบบวิทยาศาสตร์ ทักษะการใช้สื่อและอุปกรณ์การเรียนรู้ หรืออย่างน้อยครูต้องมีความรู้รอบตัวว่า โลกเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง ต้องรู้ว่า ถ้าโลกเปลี่ยนแปลงแล้วจะสอนผู้เรียนได้อย่างไร ฯลฯ ครูในยุคใหม่ต้องมีบทบาทเป็นผู้กระตุ้นชี้แนะการเรียนรู้ แหล่งการเรียนรู้ให้ผู้เรียน
“การปฏิรูปครูต้องทำในทุกกระบวนการ การปฏิรูปการศึกษาเพื่อคุณภาพของเด็กนักเรียนนั้นจะไม่มีอนาคต ถ้าไม่ทำกับครูก่อน ครูต้องมีคุณภาพ และถ้าอยากสร้างโรงเรียนที่มีคุณภาพก็ต้องมีเงินไปจ้างครูดีๆ เก่งๆมา ซึ่งประเทศไทยจะไม่มีวันเจริญตราบใดที่เงินเดือนครูยังต่ำขนาดนี้”
สำหรับหลักสูตรการสอนนั้น ประธานสถาบันนโยบายศึกษา กล่าวว่า ควรมีสัดส่วนการเรียนรู้ของผู้เรียนระหว่างความรู้เนื้อหาวิชาการกับทักษะการทำกิจกรรมการเรียนรู้ที่ชัดเจน ควรให้ผู้เรียนมีการทำกิจกรรม 30% แล้วเรียนรู้สาระวิชาอีก 70% เพื่อให้ผู้เรียนรู้จักตั้งคำถาม สืบค้นข้อมูล และเพิ่มทักษะการเรียนรู้แบบวิทยาศาสตร์ด้วยตนเอง ซึ่งต้องเน้นการเรียนรู้แบบปฏิบัติ ทำให้แต่ละวันผู้เรียนได้ใช้ทักษะในการเรียนรู้ เพราะถ้าไม่รู้ในเรื่องทักษะแล้วผู้เรียนก็ไม่สามารถเรียนรู้เนื้อหาสาระได้ โดยเฉพาะการเลือก หรือแยกแยะข้อมูลที่ความจำเป็นต่อความรู้ในเรื่องนั้นๆ ต้องสร้างทักษะด้านการใช้ภาษา การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการเรียนรู้ การสื่อสารระหว่างบุคคล เป็นต้น ซึ่งที่ผ่านมาเด็กไทยสื่อสารและทำอะไรร่วมกับผู้อื่นในลักษณะแบบกลุ่มน้อยมาก และการแนะแนวการศึกษาก็ต้องทำในลักษณะแนะแนวอาชีพให้มากกว่าแค่การแนะนำเพียงเรื่องความประพฤตินักเรียน
“เรื่องการบริหารการศึกษาระวังอย่าตกไปเป็นกับดักของการปฏิรูปการศึกษาด้วยการเปลี่ยนโครงสร้างทางการศึกษาอีก หากจะทำเรื่องนี้ก็มีเรื่องเดียว คือ เรื่องการโอนถ่ายการศึกษา การกระจายอำนาจทางการศึกษา ในท้ายที่สุดในระยะยาวคงจะหนีไม่พ้นที่จะต้องให้การจัดการคุณภาพการศึกษาไปอยู่กับท้องถิ่น เพราะประชาชนเป็นหน่วยที่ใกล้ชิดที่สุด ถ้าเราสามารถกระตุ้นให้ประชาชนรู้ถึงความสำคัญของการศึกษา และรู้ถึงว่าการศึกษาสามารถทำได้ดีโดยท้องถิ่น ท้องถิ่นสามารถทำโรงเรียนให้ดีได้ เราต้องไม่ใช่แค่ให้ท้องถิ่นเป็นเพียงคณะกรรมการโรงเรียนเท่านั้น ต้องให้ท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการจัดการโรงเรียนด้วย” ศ.ดร.ชัยอนันต์ กล่าว
ด้านดร.ไพฑูรย์ สินลารัตน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ กล่าวถึงภาพรวมการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้ว่า ควรพิจารณาถึงประเด็นการปฏิรูปครั้งนี้ต้องทำเพื่อให้เกิดพลังทางการศึกษาเพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงคนและสังคมไทยในอนาคต เนื่องจากแนวทางขณะนี้ยังเน้นที่การเปลี่ยนแปลงงานประจำของบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งไม่ใช่งานการปฏิรูปการศึกษาจริงๆ หากปฏิรูปแบบนี้การศึกษาจะไม่มีพลังเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย ปฏิรูปหรือไม่ปฏิรูปก็จะเหมือนกัน ดังนั้นผู้ที่ดูแลทิศทางและแนวนโยบายปฏิรูปต้องกลับมาคิดว่า จะทำให้การศึกษาเป็นพลังของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างไร เป้าหมายการปฏิรูปต้องชัดเจนควรกำหนดให้ชัดว่าการเป็นคนเก่ง ดี และมีความสุขต้องเป็นอย่างไร คนไทยใน 10 ปีข้างหน้าควรเป็นเช่นใด เนื่องจากขณะนี้ความเข้าใจและความชัดเจนในเรื่องนี้ยังไม่ตรงกันนัก หากไม่กำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนก็จะล้มเหลวอีกครั้ง
ดร.ไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า การคัดสรรคนที่เก่งมาเป็นครูนั้นเมื่อได้มาแล้วต้องการให้ครูทำอะไรบ้าง ต้องมีการตั้งเป้าอบรมครูเพื่อพัฒนาเปลี่ยนแปลงกระบวนการเรียนรู้และกระบวนการสอนให้มีคุณภาพ ไม่ใช่แค่อบรมแค่เนื้อหาวิชาการ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์การสอน บทบาทหน้าที่ของครูอย่างจริงจัง อาจต้องเปลี่ยนปรัชญาการผลิตครูใหม่ด้วย ส่วนผู้บริหารสถานศึกษาและผู้บริหารการศึกษาต้องกระตือรือร้นมีส่วนผลักดันการเปลี่ยนแปลงการศึกษา ภาคอุดมศึกษาต้องพลิกโฉมวิธีการคิดจากที่เป็นอยู่ ต้องมีจิตวิญญาณความเป็นมหาวิทยาลัย
"การปฏิรูปการศึกษาต้องเชื่อมโยงความร่วมมือทุกระดับและทุกภาคส่วน ไม่ใช่ต่างคนต่างคิดและทำ ต้องปรับปรุงเกณฑ์วิทยฐานะครู รับเปลี่ยนระบบการสอบแบบแอดมิชชั่น เพราะระบบนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาเดิมของการสอบคัดเลือกนักเรียนเข้ามหาวิทยาลัย และสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(สมศ.) ต้องเข้ามามีบทบาทต้องมองว่าสุดท้ายการศึกษาที่มีคุณภาพต้องเป็นอย่างไรนำมาเป็นตัวกำหนดเพื่อแจงเป็นแนวปฏิบัติที่ไม่ซับซ้อนและยุ่งยากจนเกินไป"รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มธบ. กล่าว และว่า การปฏิรูปการศึกษาต้องนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคม การเปลี่ยนแปลงประเทศ และการเปลี่ยนแปลงคนในอนาคตให้ได้ อุดมศึกษาไทยส่วนใหญ่ยังเป็นแบบเดิมบริโภคนิยม มุ่งการเป็นอาชีพชั้นสูงอยู่ทั้งสิ้น จิตวิญญาณของอุดมที่จะสร้างคนเพื่อการเปลี่ยนแปลง สร้างคนเพื่อพัฒนาเป็นผู้นำต่อไปในอนาคต เหล่านี้เกือบไม่มีการพูดคุยในการอุดมศึกษาเลย วิญญาณของมหาวิทยาลัยปัจจุบันไม่ค่อยมีใครพูดถึงต่อไปแล้ว มหาวิทยาลัยไม่ได้มีหน้าที่แค่ผลิตคน แต่ต้องสร้างสติปัญญา สร้างความเป็นมนุษย์ และต้องสร้างสังคมให้แก่โลกและประเทศ ดังนั้นถ้าจะปฏิรูปรอบ2ถ้าไม่คิดให้ต่างจากเดิมก็จะไม่มีวันประสบความสำเร็จ
ส่วนดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ กรรมการพัฒนาระบบการประเมินคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา (สมศ.) กล่าวว่า การปฏิรูปการศึกษาใน 10 ปีที่แล้วนั้นเป็นเพียงการยกเครื่องการศึกษา ครั้งนี้ไม่ควรจะทำเรื่องนั้นอีก รอบนี้คิดว่าไม่ควรทำหลายเรื่อง ควรทำน้อยเรื่องแต่ให้ได้ผลที่มาก มุ่งเน้นไปที่งานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการศึกษา มุ่งที่ครูผู้สอน ผู้บริหาร และผู้เรียน และมาตรฐานคุณภาพการศึกษาต้องมุ่งที่การสร้างการเรียนรู้ การปฏิรูปการศึกษารอบนี้ต้องปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้ได้ จากนั้นค่อยเชื่อมโยงมาสู่การจัดการหลักสูตร และเรื่องของซีวิคเอ็ดดูเคชั่น (Civic Education) และควรต้องมีการติดตามตรวจสอบการดำเนินงานปฏิรูปการศึกษาด้วย
“การศึกษาต้องนำเรื่องครูคนที่ 1 ก็คือพ่อและแม่เข้ามาในการสอนด้วย เพราะเราพลาดพลั้งที่ไม่นำเอาครูคนแรกของเด็กมาเข้ากระบวนการ ส่วนครูคนที่ 2 ต้องเป็นครูคนใหม่ๆ ที่ควรมาจากระบบการผลิตครูแบบปิด ไม่ควรผลิตครูในระบบเปิดเพราะครูต้องเป็นวิชาชีพชั้นสูง การคัดสรรที่ผ่านมา เราพลาดพลั้ง เราต้องฟื้นความเป็นวิชาชีพชั้นสูงว่าคืออะไร ซึ่งคิดว่าต้องผลิตครูพันธุ์ใหม่ ส่งเสริมการวิจัยเพื่อพัฒนาการศึกษา และต้องมีการพัฒนาครูประจำการด้วย” ดร.สมหวัง กล่าว
นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
คำปรารภ
ดังดอกไม้บาน
วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2554
กทม.เล็งบรรจุหลักสูตร ‘โตไปไม่โกง' ปลูกจิตสำนึกเยาวชนไทย
กทม . เดินหน้าโครงการโตไปไม่โกง เตรียมเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนโรงเรียนกทม. ปลูกจิตใต้สำนึกเยาวชนต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น คาดดำเนินการได้ในช่วงเดือนหน้า นำร่องนำครูเข้าฝึกอบรม 1,400 คน
เมื่อเร็วๆ นี้ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนกทมเพื่อปลูกจิตใต้สำนึกด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยมีนางนินนาท ชลิตานนท์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร นายโกสิน เทศวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กทม. รศ. จุรี วิจิตรวาทการ ตัวแทนจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกทม.
นางทยา กล่าวถึงปัญหาการทุจริตคอรัปชันว่า เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนเห็นตรงกัน ว่าเป็นสิ่งที่กัดกร่อนสังคมไทยและนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ทั้งในเรื่องของความยากจน ความด้อยพัฒนา การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การเอาเปรียบกันอย่างไม่เคารพกติกา ฯลฯ กรุงเทพมหานครเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างคุณค่าและปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชนตั้งแต่วัยเยาว์ โดยการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนกทม.เพื่อปลูกจิตใต้สำนึกด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นจึงได้เกิด โครงการโตไปไม่โกง เพื่อบรรจุเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนของกรุงเทพมหานคร
“จุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดจริยธรรมขึ้นในจิตใจ ทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้ และเกิดความกล้าหาญทางจริยธรรมต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง โดยให้นึกถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ทั้งนี้โรงเรียนจะเป็นสถาบันหลักทางสังคมที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการหล่อหลอมให้เยาวชนไทยเติบโตเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี เชื่อมั่นในความสุจริต และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน”
สำหรับโครงการโตไปไม่โกง (Anti Corruption) มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลและประถมศึกษา โดยมุ่งเน้นเรื่องการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่สอดคล้องกับการป้องกันและแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ทั้งฝึกอบรมครูผู้สอนชั้นอนุบาลและประถมศึกษาให้มีความเข้าใจในเนื้อหา และมีทักษะที่เพียงพอในการสื่อสารสามารถถ่ายทอดแนวคิดเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชั่นไปสู่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งเผยแพร่และรณรงค์เรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นไปสู่สาธารณชนในวงกว้างให้ได้รับรู้ถึงความมุ่งมั่นของกรุงเทพมหานคร ในการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีค่านิยมและจิตสำนึกที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว จะสามารถเริ่มดำเนินงานตามแผนนโยบายได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2553 กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ครูและนักเรียนระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษา 1-3 สังกัดโรงเรียนกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นครูนำร่องที่จะเข้ารับการฝึกอบรม ทั้งหมด 1,400 คน โดยเป็นครูที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและจากการคัดเลือก รวมถึงการผลิตคู่มือและสื่อการเรียนรู้ให้แก่ครูและนักเรียนชั้นอนุบาลและนักเรียนชั้นประถมเพื่อประกอบการเรียนรู้อีกด้วย
เมื่อเร็วๆ นี้ นางทยา ทีปสุวรรณ รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนกทมเพื่อปลูกจิตใต้สำนึกด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น โดยมีนางนินนาท ชลิตานนท์ รองปลัดกรุงเทพมหานคร นายโกสิน เทศวงษ์ รองผู้อำนวยการสำนักการศึกษา กทม. รศ. จุรี วิจิตรวาทการ ตัวแทนจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ และเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกทม.
นางทยา กล่าวถึงปัญหาการทุจริตคอรัปชันว่า เป็นเรื่องที่ทุกภาคส่วนเห็นตรงกัน ว่าเป็นสิ่งที่กัดกร่อนสังคมไทยและนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ ทั้งในเรื่องของความยากจน ความด้อยพัฒนา การซื้อสิทธิ์ขายเสียง การเอาเปรียบกันอย่างไม่เคารพกติกา ฯลฯ กรุงเทพมหานครเล็งเห็นถึงความสำคัญในการสร้างคุณค่าและปลูกจิตสำนึกให้แก่เยาวชนตั้งแต่วัยเยาว์ โดยการปรับปรุงหลักสูตรการเรียนการสอนของโรงเรียนกทม.เพื่อปลูกจิตใต้สำนึกด้านการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นจึงได้เกิด โครงการโตไปไม่โกง เพื่อบรรจุเข้าในหลักสูตรการเรียนการสอนของกรุงเทพมหานคร
“จุดมุ่งหมายเพื่อให้เกิดจริยธรรมขึ้นในจิตใจ ทำให้การทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นพฤติกรรมที่ไม่สามารถยอมรับได้ และเกิดความกล้าหาญทางจริยธรรมต่อสู้กับความไม่ถูกต้อง โดยให้นึกถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมเป็นสำคัญ ทั้งนี้โรงเรียนจะเป็นสถาบันหลักทางสังคมที่มีบทบาทอย่างยิ่งในการหล่อหลอมให้เยาวชนไทยเติบโตเป็นคนที่มีศักดิ์ศรี เชื่อมั่นในความสุจริต และต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน”
สำหรับโครงการโตไปไม่โกง (Anti Corruption) มีจุดประสงค์เพื่อเป็นการเพิ่มหลักสูตรการเรียนการสอนสำหรับนักเรียนชั้นอนุบาลและประถมศึกษา โดยมุ่งเน้นเรื่องการปลูกฝังค่านิยมและจิตสำนึกที่สอดคล้องกับการป้องกันและแก้ปัญหาคอร์รัปชั่น ทั้งฝึกอบรมครูผู้สอนชั้นอนุบาลและประถมศึกษาให้มีความเข้าใจในเนื้อหา และมีทักษะที่เพียงพอในการสื่อสารสามารถถ่ายทอดแนวคิดเรื่องคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อการต่อต้านคอร์รัปชั่นไปสู่นักเรียนกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งเผยแพร่และรณรงค์เรื่องการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่นไปสู่สาธารณชนในวงกว้างให้ได้รับรู้ถึงความมุ่งมั่นของกรุงเทพมหานคร ในการปลูกฝังให้เด็กและเยาวชนมีค่านิยมและจิตสำนึกที่ถูกต้อง
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว จะสามารถเริ่มดำเนินงานตามแผนนโยบายได้ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2553 กลุ่มเป้าหมายหลัก ได้แก่ ครูและนักเรียนระดับชั้นอนุบาลและประถมศึกษา 1-3 สังกัดโรงเรียนกรุงเทพมหานคร แบ่งเป็นครูนำร่องที่จะเข้ารับการฝึกอบรม ทั้งหมด 1,400 คน โดยเป็นครูที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการและจากการคัดเลือก รวมถึงการผลิตคู่มือและสื่อการเรียนรู้ให้แก่ครูและนักเรียนชั้นอนุบาลและนักเรียนชั้นประถมเพื่อประกอบการเรียนรู้อีกด้วย
รศ.ธงทอง ฟันธง ระบอบปธน. ไม่เหมาะกับสังคมไทย
เลขาธิการสภาการศึกษาไทยมั่นใจหากเรามีระบอบประธานาธิบดี ก็จะเป็นระบบที่ห่วยที่สุดในโลก ไปไม่รอด เพราะไม่สามารถปลูกศรัทธาจากคนได้ ยืนยันชัด การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เป็นทางเลือกที่เป็นประโยชน์กับลูกหลาน ดีที่สุดแล้ว
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษาไทย บรรยายเรื่อง “ต้นไม้ไม่ลืมราก” (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงานสาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3 ”นวัตกรรมนำสังคม : Best Practice from Lab Schools” จัดโดยโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยในช่วงท้ายของการบรรยาย รศ.ธงทอง ตอบคำถาม เกี่ยวกับการสอนนักเรียนเรื่องประวัติศาสตร์ ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ว่า หน้าที่ของครู คือ การสอนตามความเป็นจริง และพยายามหาทางออกโดยการยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
เลขาธิการสภาการศึกษาไทย กล่าวว่า โลกนี้มีระบอบการปกครอง 3-4 อย่างให้เราเลือก หรือสุดท้ายอาจเหลือแค่ 2 อย่าง คือประชาธิปไตย และไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งระบอบประชาธิปไตย คือการฟังเสียงคน แล้วให้คนมามีบทบาทมีส่วนร่วม ที่ไม่ใช่เพียงการหย่อนบัตรลงคะแนน แต่หมายถึงการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การเข้ามาเป็นกำลังของบ้านเมือง ส่วนอีกระบอบไม่เป็นประชาธิปไตย การบริหารจัดการอยู่ในกลุ่มคนวงจำกัด
“ระบอบประชาธิปไตย วิธีการต้องเป็นประชาธิปไตย และจุดมุ่งหมายก็ต้องเป็นประชาธิปไตยด้วย ผมจึงไม่เชื่อ ไม่ศรัทธาอย่างยิ่งกับการปฏิวัติรัฐประหารทุกครั้ง ว่า จะเป็นคำตอบสำหรับประเทศไทย เพราะวิธีการผิด การปฏิวัติในประเทศไทยก็พิสูจน์มาแล้วทุกครั้ง แม้กระทั่งครั้งสุดท้าย ก็พิสูจน์แล้วว่า ห่วย ไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรให้เมืองไทยได้ มีแต่เพิ่มปัญหาทับถม และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เราคิดสั้นมากกว่าคิดยาว และเป็นคนไม่อดทน คิดเพียงต้องการการเปลี่ยนแปลงเฉพาะหน้า ซึ่งวิถีประชาธิปไตย ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญ”
ส่วนรูปแบบประมุขของรัฐนั้น รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในโลกนี้ก็มี 2 ประเภท พระมหากษัตริย์ กับประธานาธิบดี โดยระบบพระมหากษัตริย์ เข้าสู่ตำแหน่งโดยการสืบราชสันตติวงศ์ แม้ในความเป็นระบบพระมหากษัตริย์ก็แตกต่างกัน พระมหากษัตริย์ในประเทศซาอุดิอารเบีย หรือประเทศบรูไน ไม่เหมือนกับพระมหากษัตริย์ในไทยหรือประเทศญี่ปุ่น แม้ชื่อพระมหากษัตริย์คล้ายกัน แต่ที่บรูไนเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
“เราเคยให้เด็กของเรารู้หรือไม่ว่า การฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี เมื่อปี 2549 พระเจ้าแผ่นดินบรูไนก็มา พออีก 6 เดือนต่อมา มีการประชุมอาเซียนซัมมิท มาเหมือนกัน แต่เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งทรงเป็นหัวหน้ารัฐบาลด้วย เราเก็บเรื่องเหล่านี้มาบอกเด็กเราบ้างหรือไม่”
รศ.ธงทอง กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในบ้านเราว่า เป็นสถาบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเชื่อว่าคนไทย ไม่ว่าจะให้เลือกเมื่อไหร่ คราวใด คราใด เราจะเลือกการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของรัฐอยู่เสมอ เทียบอีกทางเลือกหนึ่งคือ ระบบประธานาธิบดี ตนคิดว่าเป็นทางที่ไม่เหมาะกับอัธยาศัยของเรา หรือหากเรามีระบบประธานาธิบดี ก็จะเป็นระบบที่ 'ห่วย' ที่สุดในโลก อยู่กันไม่รอด เพราะไม่สามารถปลูกศรัทธาจากคนได้
“ระบบพระมหากษัตริย์ในบ้านเรา มีวิวัฒนาการมา เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 5 แม้จะเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่พระราชอำนาจของพระองค์ตอนต้นรัชกาลและปลายรัชกาล ก็ไม่เหมือนกัน แม้ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หากเราดูเหตุการณ์ในรัชกาลอันยาวนานกว่า 60 ปี เราจะพบว่า พระราชสถานะในใจคนก็ไม่เหมือนกัน ในทางกฎหมายอาจไม่แตกต่างกัน พระราชสถานะตอนต้นรัชกาลกับปัจจุบันนี้ก็ไม่เหมือนกัน เวลาที่เนิ่นนาน พระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์สุขของคนมาช้านาน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้พระบารมี อยู่ในสถานะเป็นที่เคารพสักการะ”
สำหรับการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น รศ.ธงทอง กล่าวว่า มีความเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ แม้ในรัชกาลปัจจุบัน ก็เป็นอย่างนี้ ในอนาคตสืบเนื่องในวันข้างหน้าไม่รู้สิ้นสุด เราก็ต้องอยู่ด้วยความเข้าใจและตระหนักรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง ว่า ความดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเป้าหมายสูงสุดที่อยู่ในใจของเราที่เราเชื่อว่า จะเป็นประโยชน์สำหรับลูกหลาน ซึ่งหากให้เลือกทางเลือกทั้งหมดแล้ว การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับเรา
ขอบคุณเว็บไซต์ http://live.ku.ac.th/?p=868
รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษาไทย บรรยายเรื่อง “ต้นไม้ไม่ลืมราก” (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงานสาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3 ”นวัตกรรมนำสังคม : Best Practice from Lab Schools” จัดโดยโรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เมื่อเร็วๆ นี้ โดยในช่วงท้ายของการบรรยาย รศ.ธงทอง ตอบคำถาม เกี่ยวกับการสอนนักเรียนเรื่องประวัติศาสตร์ ในสถานการณ์ที่มีความขัดแย้งทางการเมือง ว่า หน้าที่ของครู คือ การสอนตามความเป็นจริง และพยายามหาทางออกโดยการยึดมั่นการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข
เลขาธิการสภาการศึกษาไทย กล่าวว่า โลกนี้มีระบอบการปกครอง 3-4 อย่างให้เราเลือก หรือสุดท้ายอาจเหลือแค่ 2 อย่าง คือประชาธิปไตย และไม่เป็นประชาธิปไตย ซึ่งระบอบประชาธิปไตย คือการฟังเสียงคน แล้วให้คนมามีบทบาทมีส่วนร่วม ที่ไม่ใช่เพียงการหย่อนบัตรลงคะแนน แต่หมายถึงการเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง การเข้ามาเป็นกำลังของบ้านเมือง ส่วนอีกระบอบไม่เป็นประชาธิปไตย การบริหารจัดการอยู่ในกลุ่มคนวงจำกัด
“ระบอบประชาธิปไตย วิธีการต้องเป็นประชาธิปไตย และจุดมุ่งหมายก็ต้องเป็นประชาธิปไตยด้วย ผมจึงไม่เชื่อ ไม่ศรัทธาอย่างยิ่งกับการปฏิวัติรัฐประหารทุกครั้ง ว่า จะเป็นคำตอบสำหรับประเทศไทย เพราะวิธีการผิด การปฏิวัติในประเทศไทยก็พิสูจน์มาแล้วทุกครั้ง แม้กระทั่งครั้งสุดท้าย ก็พิสูจน์แล้วว่า ห่วย ไม่สามารถแก้ปัญหาอะไรให้เมืองไทยได้ มีแต่เพิ่มปัญหาทับถม และซับซ้อนมากยิ่งขึ้น เราคิดสั้นมากกว่าคิดยาว และเป็นคนไม่อดทน คิดเพียงต้องการการเปลี่ยนแปลงเฉพาะหน้า ซึ่งวิถีประชาธิปไตย ความอดทนเป็นสิ่งสำคัญ”
ส่วนรูปแบบประมุขของรัฐนั้น รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในโลกนี้ก็มี 2 ประเภท พระมหากษัตริย์ กับประธานาธิบดี โดยระบบพระมหากษัตริย์ เข้าสู่ตำแหน่งโดยการสืบราชสันตติวงศ์ แม้ในความเป็นระบบพระมหากษัตริย์ก็แตกต่างกัน พระมหากษัตริย์ในประเทศซาอุดิอารเบีย หรือประเทศบรูไน ไม่เหมือนกับพระมหากษัตริย์ในไทยหรือประเทศญี่ปุ่น แม้ชื่อพระมหากษัตริย์คล้ายกัน แต่ที่บรูไนเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช
“เราเคยให้เด็กของเรารู้หรือไม่ว่า การฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 60 ปี เมื่อปี 2549 พระเจ้าแผ่นดินบรูไนก็มา พออีก 6 เดือนต่อมา มีการประชุมอาเซียนซัมมิท มาเหมือนกัน แต่เป็นนายกรัฐมนตรี ซึ่งทรงเป็นหัวหน้ารัฐบาลด้วย เราเก็บเรื่องเหล่านี้มาบอกเด็กเราบ้างหรือไม่”
รศ.ธงทอง กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ในบ้านเราว่า เป็นสถาบันที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และเชื่อว่าคนไทย ไม่ว่าจะให้เลือกเมื่อไหร่ คราวใด คราใด เราจะเลือกการปกครองที่มีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุขของรัฐอยู่เสมอ เทียบอีกทางเลือกหนึ่งคือ ระบบประธานาธิบดี ตนคิดว่าเป็นทางที่ไม่เหมาะกับอัธยาศัยของเรา หรือหากเรามีระบบประธานาธิบดี ก็จะเป็นระบบที่ 'ห่วย' ที่สุดในโลก อยู่กันไม่รอด เพราะไม่สามารถปลูกศรัทธาจากคนได้
“ระบบพระมหากษัตริย์ในบ้านเรา มีวิวัฒนาการมา เช่น ในสมัยรัชกาลที่ 5 แม้จะเป็นพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช แต่พระราชอำนาจของพระองค์ตอนต้นรัชกาลและปลายรัชกาล ก็ไม่เหมือนกัน แม้ในรัชกาลปัจจุบัน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว หากเราดูเหตุการณ์ในรัชกาลอันยาวนานกว่า 60 ปี เราจะพบว่า พระราชสถานะในใจคนก็ไม่เหมือนกัน ในทางกฎหมายอาจไม่แตกต่างกัน พระราชสถานะตอนต้นรัชกาลกับปัจจุบันนี้ก็ไม่เหมือนกัน เวลาที่เนิ่นนาน พระราชกรณียกิจที่ได้ทรงบำเพ็ญเพื่อประโยชน์สุขของคนมาช้านาน ก็เป็นสิ่งที่ทำให้พระบารมี อยู่ในสถานะเป็นที่เคารพสักการะ”
สำหรับการดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์นั้น รศ.ธงทอง กล่าวว่า มีความเปลี่ยนแปลง ปรับเปลี่ยนอยู่เสมอ แม้ในรัชกาลปัจจุบัน ก็เป็นอย่างนี้ ในอนาคตสืบเนื่องในวันข้างหน้าไม่รู้สิ้นสุด เราก็ต้องอยู่ด้วยความเข้าใจและตระหนักรับรู้ถึงความเปลี่ยนแปลง ว่า ความดำรงอยู่ของสถาบันพระมหากษัตริย์ เป็นเป้าหมายสูงสุดที่อยู่ในใจของเราที่เราเชื่อว่า จะเป็นประโยชน์สำหรับลูกหลาน ซึ่งหากให้เลือกทางเลือกทั้งหมดแล้ว การปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด สำหรับเรา
ขอบคุณเว็บไซต์ http://live.ku.ac.th/?p=868
'ธงทอง' ติงการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ ทั้งแบ่งท่อน ขาดตอน
นำเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป จนเด็กเข้าใจกำเนิดของชาติไทยผิด เสนอสร้างดุลยภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยไม่ลืมรากเหง้า ไม่ทอดทิ้ง ละเลย สิ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิม
เมื่อเร็วๆนี้ รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง ต้นไม้ไม่ลืมราก (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงาน “สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคม : Best Practice from LabSchools” ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบประเทศเป็นต้นไม้ การศึกษา คือ รากแก้ว รากฝอย ต้นไม้ที่จะยั่งยืนได้ จำเป็นที่จะต้องมีรากแก้วและรากฝอย ต้นไม้ที่รากสั้น รากไม่มีคุณภาพจะไม่มีความหมาย เป็นเพียงต้นไม้ล้มลุกและอยู่ได้ไม่นาน
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในอนาคตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ต้องไม่เพียงแต่หยุดอยู่กับที่ หรืออยู่กับอดีตที่หอมหวาน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้เกิดสัดส่วนที่พอดีระหว่างของเก่าและของใหม่ ต้องรู้จักรากเหง้าของตนเอง สร้างดุลยภาพในการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย สิ่งที่เรามีมาแต่ดั้งเดิม
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องสอนให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้ อาจจะไม่ต้องพูดและอธิบายมาก แต่ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็น เพื่อช่วยรักษาหลักการที่มีอยู่ในชีวิตว่า สิ่งใดควร ไม่ควร ความรู้อย่างนี้ เป็นของที่ต้องถ่ายทอด ต้องบอกเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลยในเมืองไทย เช่น เทศกาลสงกรานต์ การรดน้ำสงกรานต์ผู้ใหญ่ ก็ยังมีธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง หลายคนนิยมรดน้ำสงกรานต์คนที่มีตำแหน่งใหญ่โต แม้จะอายุน้อย ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควร เพราะการรดน้ำนั้นต้องรดเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ รศ.ธงทอง กล่าวว่า การสอนมากหรือสอนน้อย เป็นเพียงโจทย์หนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเนื้อหาในการสอน ซึ่งข้ออ่อนด้อยที่ต้องระมัดระวัง คือ การสร้างความรู้สึกว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่เหนือกว่าเพื่อนบ้าน หรือการเน้นเพียงการสอนว่า มีการได้การเสียดินแดนอยู่อย่างไรตลอดเวลา
“เราจะจดจำตัวเลข พ.ศ. 2310 ว่าอยุธยาเสียกรุง แต่การที่เราไปตีเวียงจันทน์ ตีนครธมเรากลับจำไม่ได้ เพราะไม่ใส่ไว้ในหลักสูตร ไทยไปเอาของประเทศอื่นมาวันไหน ทำให้เราได้เห็นภาพ วันที่ฟุตบอลไทยชิงกับพม่า คนไทยก็เชียร์กันสุดใจ คิดว่า เขาคือศัตรู และเขมรก็เป็นทาส แต่ถ้าในบริบทของความเป็นอาเซียนในอนาคต หากเรายังสอนพม่าเป็นศัตรู เขมรเป็นทาส ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร”
รศ.ธงทอง กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนของประเทศไทย ยังคงปลูกจิตสำนึกจากประวัติศาสตร์ขาดตอนที่เป็นประวัติศาสตร์ที่แบ่งท่อนเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป ทำให้เด็กเข้าใจการกำเนิดของชาติไทยที่ผิดไป ไม่เข้าใจการปกครองว่า สมัยก่อนมีการกระจายอำนาจการปกครองที่ต่างกัน หรือในอดีตจะมีกษัตริย์เป็นเจ้าแบ่งเป็นแว่นแคว้น
“การทำให้เราเห็นประวัติศาสตร์เต็มรูป ในการหาเหตุผลในอดีต จะเป็นบริบทของการตัดสินใจในเวลานั้นๆ เพราะหากเอาเรื่องราวในอดีต 400 ปีมานั่งโกรธกัน เหตุการณ์ก็จะเหมือนภาคใต้ในวันนี้ที่ทะเลาะเบาะแว้ง สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และอยู่กับโลกปัจจุบัน คือ การแสดงให้เห็นรากเหง้า ที่มาที่ไปว่า เรามาจากที่ไหน ในชุมชนเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ ดีเอ็นเอ บางระจัน” รศ.ธงทอง กล่าว และว่า ความเป็นคนไทยแท้จริงไม่ได้อยู่ที่สายโลหิต คนรุ่นลูกรุ่นหลานต้องเรียนรู้ สร้างสิ่งเรียนรู้ที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็นรากเหง้าของบ้านเรา วิถีชีวิตที่สามารถทำให้กลมกลืนกับการศึกษาได้ ให้รู้สึกเป็นของใกล้ตัว ไม่ห่างจากความเป็นตัวตน เกิดความภาคภูมิใจในตัวตนของเขา และพร้อมรับเอาสิ่งใหม่ๆ
นำเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป จนเด็กเข้าใจกำเนิดของชาติไทยผิด เสนอสร้างดุลยภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยไม่ลืมรากเหง้า ไม่ทอดทิ้ง ละเลย สิ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิม
เมื่อเร็วๆนี้ รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง ต้นไม้ไม่ลืมราก (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงาน “สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคม : Best Practice from LabSchools” ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบประเทศเป็นต้นไม้ การศึกษา คือ รากแก้ว รากฝอย ต้นไม้ที่จะยั่งยืนได้ จำเป็นที่จะต้องมีรากแก้วและรากฝอย ต้นไม้ที่รากสั้น รากไม่มีคุณภาพจะไม่มีความหมาย เป็นเพียงต้นไม้ล้มลุกและอยู่ได้ไม่นาน
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในอนาคตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ต้องไม่เพียงแต่หยุดอยู่กับที่ หรืออยู่กับอดีตที่หอมหวาน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้เกิดสัดส่วนที่พอดีระหว่างของเก่าและของใหม่ ต้องรู้จักรากเหง้าของตนเอง สร้างดุลยภาพในการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย สิ่งที่เรามีมาแต่ดั้งเดิม
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องสอนให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้ อาจจะไม่ต้องพูดและอธิบายมาก แต่ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็น เพื่อช่วยรักษาหลักการที่มีอยู่ในชีวิตว่า สิ่งใดควร ไม่ควร ความรู้อย่างนี้ เป็นของที่ต้องถ่ายทอด ต้องบอกเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลยในเมืองไทย เช่น เทศกาลสงกรานต์ การรดน้ำสงกรานต์ผู้ใหญ่ ก็ยังมีธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง หลายคนนิยมรดน้ำสงกรานต์คนที่มีตำแหน่งใหญ่โต แม้จะอายุน้อย ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควร เพราะการรดน้ำนั้นต้องรดเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ รศ.ธงทอง กล่าวว่า การสอนมากหรือสอนน้อย เป็นเพียงโจทย์หนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเนื้อหาในการสอน ซึ่งข้ออ่อนด้อยที่ต้องระมัดระวัง คือ การสร้างความรู้สึกว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่เหนือกว่าเพื่อนบ้าน หรือการเน้นเพียงการสอนว่า มีการได้การเสียดินแดนอยู่อย่างไรตลอดเวลา
“เราจะจดจำตัวเลข พ.ศ. 2310 ว่าอยุธยาเสียกรุง แต่การที่เราไปตีเวียงจันทน์ ตีนครธมเรากลับจำไม่ได้ เพราะไม่ใส่ไว้ในหลักสูตร ไทยไปเอาของประเทศอื่นมาวันไหน ทำให้เราได้เห็นภาพ วันที่ฟุตบอลไทยชิงกับพม่า คนไทยก็เชียร์กันสุดใจ คิดว่า เขาคือศัตรู และเขมรก็เป็นทาส แต่ถ้าในบริบทของความเป็นอาเซียนในอนาคต หากเรายังสอนพม่าเป็นศัตรู เขมรเป็นทาส ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร”
รศ.ธงทอง กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนของประเทศไทย ยังคงปลูกจิตสำนึกจากประวัติศาสตร์ขาดตอนที่เป็นประวัติศาสตร์ที่แบ่งท่อนเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป ทำให้เด็กเข้าใจการกำเนิดของชาติไทยที่ผิดไป ไม่เข้าใจการปกครองว่า สมัยก่อนมีการกระจายอำนาจการปกครองที่ต่างกัน หรือในอดีตจะมีกษัตริย์เป็นเจ้าแบ่งเป็นแว่นแคว้น
“การทำให้เราเห็นประวัติศาสตร์เต็มรูป ในการหาเหตุผลในอดีต จะเป็นบริบทของการตัดสินใจในเวลานั้นๆ เพราะหากเอาเรื่องราวในอดีต 400 ปีมานั่งโกรธกัน เหตุการณ์ก็จะเหมือนภาคใต้ในวันนี้ที่ทะเลาะเบาะแว้ง สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และอยู่กับโลกปัจจุบัน คือ การแสดงให้เห็นรากเหง้า ที่มาที่ไปว่า เรามาจากที่ไหน ในชุมชนเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ ดีเอ็นเอ บางระจัน” รศ.ธงทอง กล่าว และว่า ความเป็นคนไทยแท้จริงไม่ได้อยู่ที่สายโลหิต คนรุ่นลูกรุ่นหลานต้องเรียนรู้ สร้างสิ่งเรียนรู้ที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็นรากเหง้าของบ้านเรา วิถีชีวิตที่สามารถทำให้กลมกลืนกับการศึกษาได้ ให้รู้สึกเป็นของใกล้ตัว ไม่ห่างจากความเป็นตัวตน เกิดความภาคภูมิใจในตัวตนของเขา และพร้อมรับเอาสิ่งใหม่ๆ
นำเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป จนเด็กเข้าใจกำเนิดของชาติไทยผิด เสนอสร้างดุลยภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยไม่ลืมรากเหง้า ไม่ทอดทิ้ง ละเลย สิ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิม
เมื่อเร็วๆนี้ รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง ต้นไม้ไม่ลืมราก (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงาน “สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคม : Best Practice from LabSchools” ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบประเทศเป็นต้นไม้ การศึกษา คือ รากแก้ว รากฝอย ต้นไม้ที่จะยั่งยืนได้ จำเป็นที่จะต้องมีรากแก้วและรากฝอย ต้นไม้ที่รากสั้น รากไม่มีคุณภาพจะไม่มีความหมาย เป็นเพียงต้นไม้ล้มลุกและอยู่ได้ไม่นาน
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในอนาคตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ต้องไม่เพียงแต่หยุดอยู่กับที่ หรืออยู่กับอดีตที่หอมหวาน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้เกิดสัดส่วนที่พอดีระหว่างของเก่าและของใหม่ ต้องรู้จักรากเหง้าของตนเอง สร้างดุลยภาพในการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย สิ่งที่เรามีมาแต่ดั้งเดิม
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องสอนให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้ อาจจะไม่ต้องพูดและอธิบายมาก แต่ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็น เพื่อช่วยรักษาหลักการที่มีอยู่ในชีวิตว่า สิ่งใดควร ไม่ควร ความรู้อย่างนี้ เป็นของที่ต้องถ่ายทอด ต้องบอกเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลยในเมืองไทย เช่น เทศกาลสงกรานต์ การรดน้ำสงกรานต์ผู้ใหญ่ ก็ยังมีธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง หลายคนนิยมรดน้ำสงกรานต์คนที่มีตำแหน่งใหญ่โต แม้จะอายุน้อย ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควร เพราะการรดน้ำนั้นต้องรดเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ รศ.ธงทอง กล่าวว่า การสอนมากหรือสอนน้อย เป็นเพียงโจทย์หนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเนื้อหาในการสอน ซึ่งข้ออ่อนด้อยที่ต้องระมัดระวัง คือ การสร้างความรู้สึกว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่เหนือกว่าเพื่อนบ้าน หรือการเน้นเพียงการสอนว่า มีการได้การเสียดินแดนอยู่อย่างไรตลอดเวลา
“เราจะจดจำตัวเลข พ.ศ. 2310 ว่าอยุธยาเสียกรุง แต่การที่เราไปตีเวียงจันทน์ ตีนครธมเรากลับจำไม่ได้ เพราะไม่ใส่ไว้ในหลักสูตร ไทยไปเอาของประเทศอื่นมาวันไหน ทำให้เราได้เห็นภาพ วันที่ฟุตบอลไทยชิงกับพม่า คนไทยก็เชียร์กันสุดใจ คิดว่า เขาคือศัตรู และเขมรก็เป็นทาส แต่ถ้าในบริบทของความเป็นอาเซียนในอนาคต หากเรายังสอนพม่าเป็นศัตรู เขมรเป็นทาส ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร”
รศ.ธงทอง กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนของประเทศไทย ยังคงปลูกจิตสำนึกจากประวัติศาสตร์ขาดตอนที่เป็นประวัติศาสตร์ที่แบ่งท่อนเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป ทำให้เด็กเข้าใจการกำเนิดของชาติไทยที่ผิดไป ไม่เข้าใจการปกครองว่า สมัยก่อนมีการกระจายอำนาจการปกครองที่ต่างกัน หรือในอดีตจะมีกษัตริย์เป็นเจ้าแบ่งเป็นแว่นแคว้น
“การทำให้เราเห็นประวัติศาสตร์เต็มรูป ในการหาเหตุผลในอดีต จะเป็นบริบทของการตัดสินใจในเวลานั้นๆ เพราะหากเอาเรื่องราวในอดีต 400 ปีมานั่งโกรธกัน เหตุการณ์ก็จะเหมือนภาคใต้ในวันนี้ที่ทะเลาะเบาะแว้ง สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และอยู่กับโลกปัจจุบัน คือ การแสดงให้เห็นรากเหง้า ที่มาที่ไปว่า เรามาจากที่ไหน ในชุมชนเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ ดีเอ็นเอ บางระจัน” รศ.ธงทอง กล่าว และว่า ความเป็นคนไทยแท้จริงไม่ได้อยู่ที่สายโลหิต คนรุ่นลูกรุ่นหลานต้องเรียนรู้ สร้างสิ่งเรียนรู้ที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็นรากเหง้าของบ้านเรา วิถีชีวิตที่สามารถทำให้กลมกลืนกับการศึกษาได้ ให้รู้สึกเป็นของใกล้ตัว ไม่ห่างจากความเป็นตัวตน เกิดความภาคภูมิใจในตัวตนของเขา และพร้อมรับเอาสิ่งใหม่ๆ
เมื่อเร็วๆนี้ รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง ต้นไม้ไม่ลืมราก (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงาน “สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคม : Best Practice from LabSchools” ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบประเทศเป็นต้นไม้ การศึกษา คือ รากแก้ว รากฝอย ต้นไม้ที่จะยั่งยืนได้ จำเป็นที่จะต้องมีรากแก้วและรากฝอย ต้นไม้ที่รากสั้น รากไม่มีคุณภาพจะไม่มีความหมาย เป็นเพียงต้นไม้ล้มลุกและอยู่ได้ไม่นาน
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในอนาคตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ต้องไม่เพียงแต่หยุดอยู่กับที่ หรืออยู่กับอดีตที่หอมหวาน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้เกิดสัดส่วนที่พอดีระหว่างของเก่าและของใหม่ ต้องรู้จักรากเหง้าของตนเอง สร้างดุลยภาพในการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย สิ่งที่เรามีมาแต่ดั้งเดิม
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องสอนให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้ อาจจะไม่ต้องพูดและอธิบายมาก แต่ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็น เพื่อช่วยรักษาหลักการที่มีอยู่ในชีวิตว่า สิ่งใดควร ไม่ควร ความรู้อย่างนี้ เป็นของที่ต้องถ่ายทอด ต้องบอกเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลยในเมืองไทย เช่น เทศกาลสงกรานต์ การรดน้ำสงกรานต์ผู้ใหญ่ ก็ยังมีธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง หลายคนนิยมรดน้ำสงกรานต์คนที่มีตำแหน่งใหญ่โต แม้จะอายุน้อย ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควร เพราะการรดน้ำนั้นต้องรดเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ รศ.ธงทอง กล่าวว่า การสอนมากหรือสอนน้อย เป็นเพียงโจทย์หนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเนื้อหาในการสอน ซึ่งข้ออ่อนด้อยที่ต้องระมัดระวัง คือ การสร้างความรู้สึกว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่เหนือกว่าเพื่อนบ้าน หรือการเน้นเพียงการสอนว่า มีการได้การเสียดินแดนอยู่อย่างไรตลอดเวลา
“เราจะจดจำตัวเลข พ.ศ. 2310 ว่าอยุธยาเสียกรุง แต่การที่เราไปตีเวียงจันทน์ ตีนครธมเรากลับจำไม่ได้ เพราะไม่ใส่ไว้ในหลักสูตร ไทยไปเอาของประเทศอื่นมาวันไหน ทำให้เราได้เห็นภาพ วันที่ฟุตบอลไทยชิงกับพม่า คนไทยก็เชียร์กันสุดใจ คิดว่า เขาคือศัตรู และเขมรก็เป็นทาส แต่ถ้าในบริบทของความเป็นอาเซียนในอนาคต หากเรายังสอนพม่าเป็นศัตรู เขมรเป็นทาส ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร”
รศ.ธงทอง กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนของประเทศไทย ยังคงปลูกจิตสำนึกจากประวัติศาสตร์ขาดตอนที่เป็นประวัติศาสตร์ที่แบ่งท่อนเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป ทำให้เด็กเข้าใจการกำเนิดของชาติไทยที่ผิดไป ไม่เข้าใจการปกครองว่า สมัยก่อนมีการกระจายอำนาจการปกครองที่ต่างกัน หรือในอดีตจะมีกษัตริย์เป็นเจ้าแบ่งเป็นแว่นแคว้น
“การทำให้เราเห็นประวัติศาสตร์เต็มรูป ในการหาเหตุผลในอดีต จะเป็นบริบทของการตัดสินใจในเวลานั้นๆ เพราะหากเอาเรื่องราวในอดีต 400 ปีมานั่งโกรธกัน เหตุการณ์ก็จะเหมือนภาคใต้ในวันนี้ที่ทะเลาะเบาะแว้ง สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และอยู่กับโลกปัจจุบัน คือ การแสดงให้เห็นรากเหง้า ที่มาที่ไปว่า เรามาจากที่ไหน ในชุมชนเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ ดีเอ็นเอ บางระจัน” รศ.ธงทอง กล่าว และว่า ความเป็นคนไทยแท้จริงไม่ได้อยู่ที่สายโลหิต คนรุ่นลูกรุ่นหลานต้องเรียนรู้ สร้างสิ่งเรียนรู้ที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็นรากเหง้าของบ้านเรา วิถีชีวิตที่สามารถทำให้กลมกลืนกับการศึกษาได้ ให้รู้สึกเป็นของใกล้ตัว ไม่ห่างจากความเป็นตัวตน เกิดความภาคภูมิใจในตัวตนของเขา และพร้อมรับเอาสิ่งใหม่ๆ
นำเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป จนเด็กเข้าใจกำเนิดของชาติไทยผิด เสนอสร้างดุลยภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยไม่ลืมรากเหง้า ไม่ทอดทิ้ง ละเลย สิ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิม
เมื่อเร็วๆนี้ รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง ต้นไม้ไม่ลืมราก (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงาน “สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคม : Best Practice from LabSchools” ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบประเทศเป็นต้นไม้ การศึกษา คือ รากแก้ว รากฝอย ต้นไม้ที่จะยั่งยืนได้ จำเป็นที่จะต้องมีรากแก้วและรากฝอย ต้นไม้ที่รากสั้น รากไม่มีคุณภาพจะไม่มีความหมาย เป็นเพียงต้นไม้ล้มลุกและอยู่ได้ไม่นาน
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในอนาคตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ต้องไม่เพียงแต่หยุดอยู่กับที่ หรืออยู่กับอดีตที่หอมหวาน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้เกิดสัดส่วนที่พอดีระหว่างของเก่าและของใหม่ ต้องรู้จักรากเหง้าของตนเอง สร้างดุลยภาพในการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย สิ่งที่เรามีมาแต่ดั้งเดิม
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องสอนให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้ อาจจะไม่ต้องพูดและอธิบายมาก แต่ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็น เพื่อช่วยรักษาหลักการที่มีอยู่ในชีวิตว่า สิ่งใดควร ไม่ควร ความรู้อย่างนี้ เป็นของที่ต้องถ่ายทอด ต้องบอกเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลยในเมืองไทย เช่น เทศกาลสงกรานต์ การรดน้ำสงกรานต์ผู้ใหญ่ ก็ยังมีธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง หลายคนนิยมรดน้ำสงกรานต์คนที่มีตำแหน่งใหญ่โต แม้จะอายุน้อย ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควร เพราะการรดน้ำนั้นต้องรดเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ รศ.ธงทอง กล่าวว่า การสอนมากหรือสอนน้อย เป็นเพียงโจทย์หนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเนื้อหาในการสอน ซึ่งข้ออ่อนด้อยที่ต้องระมัดระวัง คือ การสร้างความรู้สึกว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่เหนือกว่าเพื่อนบ้าน หรือการเน้นเพียงการสอนว่า มีการได้การเสียดินแดนอยู่อย่างไรตลอดเวลา
“เราจะจดจำตัวเลข พ.ศ. 2310 ว่าอยุธยาเสียกรุง แต่การที่เราไปตีเวียงจันทน์ ตีนครธมเรากลับจำไม่ได้ เพราะไม่ใส่ไว้ในหลักสูตร ไทยไปเอาของประเทศอื่นมาวันไหน ทำให้เราได้เห็นภาพ วันที่ฟุตบอลไทยชิงกับพม่า คนไทยก็เชียร์กันสุดใจ คิดว่า เขาคือศัตรู และเขมรก็เป็นทาส แต่ถ้าในบริบทของความเป็นอาเซียนในอนาคต หากเรายังสอนพม่าเป็นศัตรู เขมรเป็นทาส ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร”
รศ.ธงทอง กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนของประเทศไทย ยังคงปลูกจิตสำนึกจากประวัติศาสตร์ขาดตอนที่เป็นประวัติศาสตร์ที่แบ่งท่อนเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป ทำให้เด็กเข้าใจการกำเนิดของชาติไทยที่ผิดไป ไม่เข้าใจการปกครองว่า สมัยก่อนมีการกระจายอำนาจการปกครองที่ต่างกัน หรือในอดีตจะมีกษัตริย์เป็นเจ้าแบ่งเป็นแว่นแคว้น
“การทำให้เราเห็นประวัติศาสตร์เต็มรูป ในการหาเหตุผลในอดีต จะเป็นบริบทของการตัดสินใจในเวลานั้นๆ เพราะหากเอาเรื่องราวในอดีต 400 ปีมานั่งโกรธกัน เหตุการณ์ก็จะเหมือนภาคใต้ในวันนี้ที่ทะเลาะเบาะแว้ง สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และอยู่กับโลกปัจจุบัน คือ การแสดงให้เห็นรากเหง้า ที่มาที่ไปว่า เรามาจากที่ไหน ในชุมชนเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ ดีเอ็นเอ บางระจัน” รศ.ธงทอง กล่าว และว่า ความเป็นคนไทยแท้จริงไม่ได้อยู่ที่สายโลหิต คนรุ่นลูกรุ่นหลานต้องเรียนรู้ สร้างสิ่งเรียนรู้ที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็นรากเหง้าของบ้านเรา วิถีชีวิตที่สามารถทำให้กลมกลืนกับการศึกษาได้ ให้รู้สึกเป็นของใกล้ตัว ไม่ห่างจากความเป็นตัวตน เกิดความภาคภูมิใจในตัวตนของเขา และพร้อมรับเอาสิ่งใหม่ๆ
นำเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป จนเด็กเข้าใจกำเนิดของชาติไทยผิด เสนอสร้างดุลยภาพท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง โดยไม่ลืมรากเหง้า ไม่ทอดทิ้ง ละเลย สิ่งที่มีมาแต่ดั้งเดิม
เมื่อเร็วๆนี้ รศ.ธงทอง จันทรางศุ เลขาธิการสภาการศึกษา บรรยายพิเศษ เรื่อง ต้นไม้ไม่ลืมราก (ประวัติศาสตร์และภูมิปัญญาไทย) ในงาน “สาธิตวิชาการ ครั้งที่ 3” ภายใต้แนวคิด “นวัตกรรมสังคม : Best Practice from LabSchools” ที่โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพมหานคร โดยเปรียบเทียบประเทศเป็นต้นไม้ การศึกษา คือ รากแก้ว รากฝอย ต้นไม้ที่จะยั่งยืนได้ จำเป็นที่จะต้องมีรากแก้วและรากฝอย ต้นไม้ที่รากสั้น รากไม่มีคุณภาพจะไม่มีความหมาย เป็นเพียงต้นไม้ล้มลุกและอยู่ได้ไม่นาน
รศ.ธงทอง กล่าวว่า ในอนาคตท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงนับว่าเป็นสิ่งที่ท้าทายที่ต้องไม่เพียงแต่หยุดอยู่กับที่ หรืออยู่กับอดีตที่หอมหวาน แต่สิ่งสำคัญ คือ ต้องให้เกิดสัดส่วนที่พอดีระหว่างของเก่าและของใหม่ ต้องรู้จักรากเหง้าของตนเอง สร้างดุลยภาพในการเปลี่ยนแปลง โดยไม่ทอดทิ้ง ไม่ละเลย สิ่งที่เรามีมาแต่ดั้งเดิม
เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวถึงความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเป็นสิ่งที่ต้องสอนให้เด็กได้เห็นและเรียนรู้ อาจจะไม่ต้องพูดและอธิบายมาก แต่ผู้ใหญ่ต้องทำให้เห็น เพื่อช่วยรักษาหลักการที่มีอยู่ในชีวิตว่า สิ่งใดควร ไม่ควร ความรู้อย่างนี้ เป็นของที่ต้องถ่ายทอด ต้องบอกเพราะไม่เช่นนั้นจะไม่เหลืออะไรเลยในเมืองไทย เช่น เทศกาลสงกรานต์ การรดน้ำสงกรานต์ผู้ใหญ่ ก็ยังมีธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง หลายคนนิยมรดน้ำสงกรานต์คนที่มีตำแหน่งใหญ่โต แม้จะอายุน้อย ซึ่งเป็นเรื่องไม่สมควร เพราะการรดน้ำนั้นต้องรดเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเท่านั้น เป็นต้น
สำหรับเรื่องการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ รศ.ธงทอง กล่าวว่า การสอนมากหรือสอนน้อย เป็นเพียงโจทย์หนึ่งที่สำคัญไม่น้อยไปกว่าเนื้อหาในการสอน ซึ่งข้ออ่อนด้อยที่ต้องระมัดระวัง คือ การสร้างความรู้สึกว่า ประเทศไทยเป็นชาติที่เหนือกว่าเพื่อนบ้าน หรือการเน้นเพียงการสอนว่า มีการได้การเสียดินแดนอยู่อย่างไรตลอดเวลา
“เราจะจดจำตัวเลข พ.ศ. 2310 ว่าอยุธยาเสียกรุง แต่การที่เราไปตีเวียงจันทน์ ตีนครธมเรากลับจำไม่ได้ เพราะไม่ใส่ไว้ในหลักสูตร ไทยไปเอาของประเทศอื่นมาวันไหน ทำให้เราได้เห็นภาพ วันที่ฟุตบอลไทยชิงกับพม่า คนไทยก็เชียร์กันสุดใจ คิดว่า เขาคือศัตรู และเขมรก็เป็นทาส แต่ถ้าในบริบทของความเป็นอาเซียนในอนาคต หากเรายังสอนพม่าเป็นศัตรู เขมรเป็นทาส ประเทศไทยจะอยู่กันอย่างไร”
รศ.ธงทอง กล่าวต่อว่า การเรียนการสอนของประเทศไทย ยังคงปลูกจิตสำนึกจากประวัติศาสตร์ขาดตอนที่เป็นประวัติศาสตร์ที่แบ่งท่อนเรื่องของเมืองไทยที่ไม่ดีออกไป ทำให้เด็กเข้าใจการกำเนิดของชาติไทยที่ผิดไป ไม่เข้าใจการปกครองว่า สมัยก่อนมีการกระจายอำนาจการปกครองที่ต่างกัน หรือในอดีตจะมีกษัตริย์เป็นเจ้าแบ่งเป็นแว่นแคว้น
“การทำให้เราเห็นประวัติศาสตร์เต็มรูป ในการหาเหตุผลในอดีต จะเป็นบริบทของการตัดสินใจในเวลานั้นๆ เพราะหากเอาเรื่องราวในอดีต 400 ปีมานั่งโกรธกัน เหตุการณ์ก็จะเหมือนภาคใต้ในวันนี้ที่ทะเลาะเบาะแว้ง สิ่งที่เราต้องเรียนรู้และอยู่กับโลกปัจจุบัน คือ การแสดงให้เห็นรากเหง้า ที่มาที่ไปว่า เรามาจากที่ไหน ในชุมชนเมืองไทย ไม่ได้มีแค่ ดีเอ็นเอ บางระจัน” รศ.ธงทอง กล่าว และว่า ความเป็นคนไทยแท้จริงไม่ได้อยู่ที่สายโลหิต คนรุ่นลูกรุ่นหลานต้องเรียนรู้ สร้างสิ่งเรียนรู้ที่เป็นสมัยใหม่ สิ่งที่เป็นรากเหง้าของบ้านเรา วิถีชีวิตที่สามารถทำให้กลมกลืนกับการศึกษาได้ ให้รู้สึกเป็นของใกล้ตัว ไม่ห่างจากความเป็นตัวตน เกิดความภาคภูมิใจในตัวตนของเขา และพร้อมรับเอาสิ่งใหม่ๆ
ศธ.เล็งใช้การศึกษาสร้างให้เด็กตระหนักถึงหน้าที่พลเมือง
รมว.ศธ.เผยจะหยิบยกโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตย โดยใช้การศึกษาสร้างพลเมืองมาเป็นนโยบายสำคัญพัฒนาให้คนได้ตระหนักในหน้าที่-เข้าใจระบบการปกครองประชาธิปไตยที่ถูกต้อง
ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (24 พ.ค.) ว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เพื่อให้กำลังใจแก่นักเรียน ผู้ปกครอง ครู-อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ในวันเปิดภาคเรียนวันแรกของปีการศึกษา 2553
รมว.ศธ. กล่าวว่า ได้เดินทางมาที่โรงเรียนนี้ซึ่งเป็นวันเปิดภาคเรียนวันแรก หลังจากที่ได้เลื่อนจากวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมในกรุงเทพฯ เพื่อต้องการมาให้กำลังใจ ให้การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและเยียวยาต่อไป
สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะสั้นนั้น นายชินวรณ์ กล่าวว่า จะมีการดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องความปลอดภัย โดยจะให้ศูนย์เสมารักษ์ได้ประสานร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น กรุงเทพมหานคร อาสาสมัคร อปพร. สมาคมผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ฯลฯ โดยจะจัดให้ลูกเสือ หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ เข้าไปช่วยดูแลเรื่องความสะอาดปลอดภัยในโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบด้วย นอกจากนั้นยังต้องมาดูแลการสอนชดเชย ซึ่ง ศธ.พร้อมจะจัดให้มีการสอนพิเศษหรือ Tutor Channel ต่อไปด้วย ส่วนในระยะยาว จะดูถึงผลกระทบทางด้านจิตใจของนักเรียน เช่น โรงเรียนนี้มีนักเรียนส่วนหนึ่งมาจากชุมชนบ่อนไก่ โดยโรงเรียนจะมีการแนะแนวเป็นรายบุคคล หาแนวทางการเชื่อมโยงไปยังผู้ปกครอง เพื่อให้ได้รับการเยียวยาทางด้านจิตใจเช่นกันด้วย พร้อมกับจะมีการฟื้นฟูสถานศึกษา
“นอกจากนี้ ศธ.จะได้หยิบยกโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตย โดยใช้การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองมาเป็นนโยบายสำคัญในรากฐานการพัฒนา ให้คนได้คนได้ตระหนักในหน้าที่ เข้าใจระบบการปกครองประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ให้การศึกษาเป็นกระบวนการกล่อมเกลา ให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน การอยู่ร่วมภายในสังคม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องมีกิจกรรมการฝึกอบรม และกิจกรรมอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง” รมว.ศธ. กล่าว และว่า สำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมชุมนุมนั้น โรงเรียนจะต้องไปดูแลติดตาม สอนเสริมให้เข้าใจสถานการณ์ที่ต่างๆ เกิดขึ้น รวมทั้งประสานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อร่วมดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ยังได้รับทราบว่ามีโรงเรียนเอกชนในเขตสาทรอีก 3 โรงเรียน ที่จะเลื่อนไปเปิดภาคเรียนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 เพราะการคมนาคมยังไม่สะดวกนัก และทางโรงเรียนต้องการดูแลความปลอดภัยของนักเรียน รวมทั้งได้มีเวลาเตรียมการมากขึ้น.
ผู้สื่อข่าวรายงานวันนี้ (24 พ.ค.) ว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ตรวจเยี่ยมโรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เพื่อให้กำลังใจแก่นักเรียน ผู้ปกครอง ครู-อาจารย์ และเจ้าหน้าที่ ในวันเปิดภาคเรียนวันแรกของปีการศึกษา 2553
รมว.ศธ. กล่าวว่า ได้เดินทางมาที่โรงเรียนนี้ซึ่งเป็นวันเปิดภาคเรียนวันแรก หลังจากที่ได้เลื่อนจากวันที่ 17 พฤษภาคม 2553 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ความไม่สงบจากการชุมนุมในกรุงเทพฯ เพื่อต้องการมาให้กำลังใจ ให้การช่วยเหลือแก้ไขปัญหาและเยียวยาต่อไป
สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะสั้นนั้น นายชินวรณ์ กล่าวว่า จะมีการดูแลแก้ไขปัญหาเรื่องความปลอดภัย โดยจะให้ศูนย์เสมารักษ์ได้ประสานร่วมกับภาคีเครือข่าย เช่น กรุงเทพมหานคร อาสาสมัคร อปพร. สมาคมผู้ปกครอง คณะกรรมการสถานศึกษา ฯลฯ โดยจะจัดให้ลูกเสือ หรือโรงเรียนขนาดใหญ่ เข้าไปช่วยดูแลเรื่องความสะอาดปลอดภัยในโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบด้วย นอกจากนั้นยังต้องมาดูแลการสอนชดเชย ซึ่ง ศธ.พร้อมจะจัดให้มีการสอนพิเศษหรือ Tutor Channel ต่อไปด้วย ส่วนในระยะยาว จะดูถึงผลกระทบทางด้านจิตใจของนักเรียน เช่น โรงเรียนนี้มีนักเรียนส่วนหนึ่งมาจากชุมชนบ่อนไก่ โดยโรงเรียนจะมีการแนะแนวเป็นรายบุคคล หาแนวทางการเชื่อมโยงไปยังผู้ปกครอง เพื่อให้ได้รับการเยียวยาทางด้านจิตใจเช่นกันด้วย พร้อมกับจะมีการฟื้นฟูสถานศึกษา
“นอกจากนี้ ศธ.จะได้หยิบยกโครงการเสริมสร้างประชาธิปไตย โดยใช้การศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองมาเป็นนโยบายสำคัญในรากฐานการพัฒนา ให้คนได้คนได้ตระหนักในหน้าที่ เข้าใจระบบการปกครองประชาธิปไตยที่ถูกต้อง ให้การศึกษาเป็นกระบวนการกล่อมเกลา ให้เกิดการใฝ่รู้ใฝ่เรียน การอยู่ร่วมภายในสังคม ซึ่งเป็นกระบวนการที่ต้องมีกิจกรรมการฝึกอบรม และกิจกรรมอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง” รมว.ศธ. กล่าว และว่า สำหรับนักเรียนที่เข้าร่วมชุมนุมนั้น โรงเรียนจะต้องไปดูแลติดตาม สอนเสริมให้เข้าใจสถานการณ์ที่ต่างๆ เกิดขึ้น รวมทั้งประสานกับหน่วยงานต่างๆ เช่น กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อร่วมดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปด้วย
รมว.ศธ.กล่าวด้วยว่า ยังได้รับทราบว่ามีโรงเรียนเอกชนในเขตสาทรอีก 3 โรงเรียน ที่จะเลื่อนไปเปิดภาคเรียนในวันที่ 31 พฤษภาคม 2553 เพราะการคมนาคมยังไม่สะดวกนัก และทางโรงเรียนต้องการดูแลความปลอดภัยของนักเรียน รวมทั้งได้มีเวลาเตรียมการมากขึ้น.
หลักสูตร"โตไปไม่โกง"
ต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น ผู้ว่าฯ กทม.เผยกำลังจัดทำหลักสูตร “ โตไปไม่โกง ” ในโรงเรียนกทม. ยืนยัน กรุงเทพฯ ใหม่ จะต้องไม่มีแผลเป็น ประชาชนจะต้องปราศจากน้ำตา มีแต่รอยยิ้ม
เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมแกรนด์ เชอราตัน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รับเชิญจากสมาคมหอการค้าไทยในต่างประเทศให้แสดงทัศนะเกี่ยวกับทิศทางใหม่ของกรุงเทพมหานคร ในการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจต่างชาติจำนวน 1,500 คน ร่วมในการเสวนา
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครไม่ได้เป็นแค่เมืองของคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองของคนทุกชาติที่มาอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ด้วย เพราะทุกๆ คนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร และเป็นหน้าที่ของกทม. ที่จะทำกรุงเทพฯ กลับมาสงบ และประชาชนทั้งชาวไทย และต่างชาติจะอาศัยอยู่ด้วยความปกติสุข ขณะนี้กทม. กำลังดำเนินการฟื้นฟูทั้งด้านกายภาพ เกี่ยวกับถนนหนทาง อาคารต่างๆ ที่ได้รับ ความเสียหายจากเหตุความไม่สงบ ควบคู่ไปกับการเยียวยาทางด้านจิตใจของประชาชน ตลอดจนเตรียมมาตรการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ เช่น การลดหย่อนภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย จัดพื้นที่ค้าขาย ให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งร่วมกับภาครัฐ เอกชน และประชาชนชาวกรุงเทพฯ จัดกิจกรรมการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการ “ รวมกัน เราทำได้ ” เพื่อทำให้กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหน้าตาของ ประเทศไทยกลับมาสวยงาม เต็มไปด้วยรอยยิ้มของผู้คนอีกครั้งหนึ่ง และเชื่อมั่นว่าจะกลับคืนในระยะเวลาอันใกล้ เห็นได้จากกิจกรรมแรก คือ Big Cleaning ที่ผ่านมาได้รับการมีส่วนร่วมประชาชนมาทำความสะอาดพื้นที่อย่างล้นหลามด้วยความแข็งขัน เชื่อว่า ประชาชนจำนวนมากรักกรุงเทพฯและอยากมีส่วนร่วมทำเพื่อให้กรุงเทพฯ น่าอยู่
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญอันดับแรกคือจะต้องสร้างความมั่นใจให้ได้ว่าชาวต่างชาติที่มาประกอบธุรกิจ และอาศัยในกรุงเทพฯ จะได้รับความปลอดภัย ก่อนที่จะเริ่มประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เยี่ยมเยือนอีกครั้ง ทั้งนี้กรุงเทพฯ ใหม่ ต้องไม่มีรอยแผลเป็น ประชาชนจะต้องปราศจากน้ำตา มีแต่รอยยิ้ม
“กทม. กำลังวางรากฐานอนาคตโดยพยายามปลูกฝัง ให้เด็กรู้จักประชาธิไตยที่แท้จริง การต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น โดยกำลังจัดทำหลักสูตร “ โตไปไม่โกง ” ในโรงเรียนกทม. และใช้ Team of Bangkok เป็นแกนในการจับคู่นักลงทุนต่างชาติมาร่วมกับนักธุรกิจในกทม. รวมทั้งเร่งรัดโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน และโครงการขนาดใหญ่ เพื่อดึงดูดการลงทุน และให้ประชาชนได้รับประโยชน์ ซึ่งในส่วนของเม็ดเงินที่จะดำเนินการนั้นไม่อาจรอการอุดหนุนจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว กทม. กำลังหาทางระดมทุนจากการออกพันธบัตรอีกด้วย”
เมื่อเร็วๆ นี้ ณ โรงแรมแกรนด์ เชอราตัน ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ได้รับเชิญจากสมาคมหอการค้าไทยในต่างประเทศให้แสดงทัศนะเกี่ยวกับทิศทางใหม่ของกรุงเทพมหานคร ในการสร้างความมั่นใจให้แก่นักลงทุนและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร โดยมีผู้ประกอบการธุรกิจต่างชาติจำนวน 1,500 คน ร่วมในการเสวนา
ม.ร.ว.สุขุมพันธ์ กล่าวว่า กรุงเทพมหานครไม่ได้เป็นแค่เมืองของคนไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นเมืองของคนทุกชาติที่มาอยู่อาศัยในกรุงเทพฯ ด้วย เพราะทุกๆ คนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของกรุงเทพมหานคร และเป็นหน้าที่ของกทม. ที่จะทำกรุงเทพฯ กลับมาสงบ และประชาชนทั้งชาวไทย และต่างชาติจะอาศัยอยู่ด้วยความปกติสุข ขณะนี้กทม. กำลังดำเนินการฟื้นฟูทั้งด้านกายภาพ เกี่ยวกับถนนหนทาง อาคารต่างๆ ที่ได้รับ ความเสียหายจากเหตุความไม่สงบ ควบคู่ไปกับการเยียวยาทางด้านจิตใจของประชาชน ตลอดจนเตรียมมาตรการช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ เช่น การลดหย่อนภาษีโรงเรือน ภาษีป้าย จัดพื้นที่ค้าขาย ให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งร่วมกับภาครัฐ เอกชน และประชาชนชาวกรุงเทพฯ จัดกิจกรรมการฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องภายใต้โครงการ “ รวมกัน เราทำได้ ” เพื่อทำให้กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นหน้าตาของ ประเทศไทยกลับมาสวยงาม เต็มไปด้วยรอยยิ้มของผู้คนอีกครั้งหนึ่ง และเชื่อมั่นว่าจะกลับคืนในระยะเวลาอันใกล้ เห็นได้จากกิจกรรมแรก คือ Big Cleaning ที่ผ่านมาได้รับการมีส่วนร่วมประชาชนมาทำความสะอาดพื้นที่อย่างล้นหลามด้วยความแข็งขัน เชื่อว่า ประชาชนจำนวนมากรักกรุงเทพฯและอยากมีส่วนร่วมทำเพื่อให้กรุงเทพฯ น่าอยู่
ผู้ว่าฯ กทม.กล่าวด้วยว่า สิ่งสำคัญอันดับแรกคือจะต้องสร้างความมั่นใจให้ได้ว่าชาวต่างชาติที่มาประกอบธุรกิจ และอาศัยในกรุงเทพฯ จะได้รับความปลอดภัย ก่อนที่จะเริ่มประชาสัมพันธ์เชิญชวนนักท่องเที่ยวให้เยี่ยมเยือนอีกครั้ง ทั้งนี้กรุงเทพฯ ใหม่ ต้องไม่มีรอยแผลเป็น ประชาชนจะต้องปราศจากน้ำตา มีแต่รอยยิ้ม
“กทม. กำลังวางรากฐานอนาคตโดยพยายามปลูกฝัง ให้เด็กรู้จักประชาธิไตยที่แท้จริง การต่อต้านทุจริตคอรัปชั่น โดยกำลังจัดทำหลักสูตร “ โตไปไม่โกง ” ในโรงเรียนกทม. และใช้ Team of Bangkok เป็นแกนในการจับคู่นักลงทุนต่างชาติมาร่วมกับนักธุรกิจในกทม. รวมทั้งเร่งรัดโครงการก่อสร้างระบบขนส่งมวลชน และโครงการขนาดใหญ่ เพื่อดึงดูดการลงทุน และให้ประชาชนได้รับประโยชน์ ซึ่งในส่วนของเม็ดเงินที่จะดำเนินการนั้นไม่อาจรอการอุดหนุนจากรัฐบาลเพียงอย่างเดียว กทม. กำลังหาทางระดมทุนจากการออกพันธบัตรอีกด้วย”
“การเรียนการสอนนอกกรอบ”
มีชัย วีระไวทยะ” ชี้ถึงเวลาต้องปฏิวัติ เลิกคิดโรงเรียนเป็นรถเมล์ ผ่านมาแล้วผ่านไป เร่งสร้างให้ทุกที่เป็นที่มีความสุข ขณะที่ดร.สรยุทธ แนะอาจารย์คิดใหม่ให้มีความสุขในการสอน เชื่อนักเรียนก็จะมีความสุขในการเรียน
เมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.)จัดการประชุมเสวนาวิชาการเนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เรื่อง “การเรียนการสอนนอกกรอบ” มีนายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ครูใหญ่ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ,รองศาสตราจารย์ ประภาภัทร นิยม ผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ และ ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ร่วมเป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
นายมีชัย กล่าวว่า ทุกวันนี้โรงเรียนทุกที่มีความทุกข์ ต้องสร้างให้เป็นที่มีความสุข ต้องปฏิวัติอย่าให้ทุกคนคิดเพียงว่าโรงเรียนเป็นรถเมล์ ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่ต้องเป็นที่ของทุกคน ที่ต้องคิดถึง สิ่งสำคัญ คือ อย่าคิดว่านักเรียนเป็นเด็ก แต่ต้องคิดว่า พวกเขาสามารถทำอะไรได้หลากหลายอย่าง ต้องสอนให้คิดเป็น ทำเป็น นอกจากนั้น ต้องดูแลสังคมด้วย
“เรื่องความเสมอภาคเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่การสอนเพียงเขียนออกเขียนได้ แต่ต้องสอนให้คนมีทักษะในด้านของความคิดริเริ่มใหม่ๆ มองมุมใหม่ เพราะคนไทยมักมุ่งเรื่องในอดีต แทนที่มุ่งไปสู่อนาคต ทำให้วันนี้มีผู้นำน้อยที่สามารถคิดนอกกรอบได้ สังคมสร้างผู้ตามของเมื่อวาน แทนการสร้างผู้นำของวันพรุ่งนี้”
นายมีชัย กล่าวว่า การสร้างเป็นที่สุขถาวรในชีวิตมนุษย์ เราต้องช่วยทำให้มีโรงเรียนมีความหมายมากกว่าเป็นเพียงที่เรียน แต่ต้องเป็นที่สร้างโอกาสทั้งแก่เด็กที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต และผู้ปกครอง คนท้องถิ่น ที่ต้องส่งเสริมรายได้ จัดการอบรม ช่วยสอนทุกคนให้คิดเป็นอยู่ได้ ถึงจะเรียกว่า เป็นโรงเรียนอย่างสมบูรณ์แบบ
ขณะที่ดร.สรยุทธ กล่าวถึงการเรียนการสอนนอกกรอบว่า สามารถทำได้ทุกที่ทั้งในระบบและนอกระบบ นอกห้องเรียนหรือในห้องเรียน หรือในระบบมหาวิทยาลัยสามารถทำได้ เพียงต้องใช้ใจไปพร้อมๆกันให้แทรกซึมไปเรื่อยๆ ทั้งผู้สอนและผู้เรียน
“อย่างเช่น ในห้องเรียนวิชาชีววิทยา เริ่มต้นจากการใช้เรื่องจิตปัญญาศึกษา เข้ามาช่วย ใช้สามัญสำนึกมาใช้ ลองทำโดยการสอนแต่ละครั้งแบ่งเวลาให้วิชาละ 10 นาที แล้วเขียนความรู้สึกของแต่ละคนต่อวิชานี้เข้าไป 2 ข้อ คือ 1.อะไรโดนที่สุดสำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ 2.อยากจะรู้ บ่น หรือด่า ในเวลาที่เรียนในวันนี้อย่างไรบ้าง แล้วกลับมาส่ง และเลือกบางส่วนกลับไปอ่านให้นักศึกษาฟัง จะเป็นใบประเมินการสอนไปในตัว ผลที่ได้ คือ ผู้เรียนจะได้ความรู้มากกว่าการพูดๆ ยัดๆ และคายออกมาในห้องสอบ ซึ่งตรงนี้ผู้สอนต้องเชื่อก่อนว่า สามารถเปลี่ยนแปลงลูกศิษย์ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เองจากตัวเขา จากบรรยากาศในห้องเรียน ซึ่งจะดีมากกว่าระบบการเรียนการสอนแบบเก่า”
ดร.สรยุทธ กล่าวต่อว่า เราต้องมาปรับความคิดกันใหม่ด้วยว่า เมื่ออาจารย์มีความสุขในการสอน นักเรียนก็จะมีความสุขในการเรียนไปด้วย เป็นวิธีง่ายๆ แต่ได้ผล อาจารย์ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ไม่บ่น ไม่โมโห ทำอย่างไรให้เรารู้สึกเช่นนั้น เพื่อทุกคนไม่เครียด ผลประโยชน์ตกกับทั้งสองฝ่าย และใช้ใจไปพร้อมๆ กัน ในการเรียนแต่ละครั้ง
ส่วนรศ.ประภาภัทร กล่าวถึงการเรียนการสอนทำให้นอกกรอบว่า ต้องตั้งเอาไว้ตั้งแต่เป้าหมายของการศึกษา ถือว่าเป็นโจทย์สำคัญมาก การตั้งคำถามว่าจะทำอะไรต่อไป เพื่อหาการเรียนรู้ที่ดีที่สุดในโลก เช่น ที่มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ พอตั้งมาไม่ได้มุ่งสอนนักเรียน แต่เป็นการสอนครูด้วย เมื่อได้ครูที่ดีแล้วก็จะได้นักเรียนที่ดีด้วย
“การสอนให้รู้วิชาต้องให้คิดใหม่แก่ทุกคน ตั้งแต่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง หากผู้สอนตั้งท่าเป็นครูสอนวิชาก็ไม่ใช่การเรียนการสอน ต้องถอดโรงเรียนออกไปจากใจครู เพื่อเรียนรู้ใหม่ ต้องรู้ในปัจจุบัน อย่ายึดที่ตายตัว อย่างตอนนี้มีวิกฤตการเมืองหากใครใส่สีแดง มีการวิตกกังวลตัดสินไปแล้ว เนื่องจากมีชุดความคิดเดิม สิ่งต่างๆตรงนี้ล้วนมีความหมาย การเรียนการให้การศึกษาก็ต้องทำให้เปลี่ยนแปลง”
รศ.ประภาภัทร กล่าวว่า การสอนตามตำราเรียนไม่ใช่เรื่องยากนัก แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า สอนเรื่องนั้นแก่ผู้เรียนแล้วเกิดความเข้าใจเพียงใด และผู้เรียนกับความรู้เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ อย่างต้องถามครูคณิตศาสตร์ว่า สอนเรื่องสมการไปทำไม แทนที่จะฝึกวิธีคิดเป็นระบบ นำไปต่อยอดได้ แต่ครูคณิตศาสตร์รู้เพียงการคิดเลข แต่คิดอย่างอื่นไม่เป็น ถ้ายังตอบไม่ได้ก็ไม่ต้องสอน ปล่อยให้เด็กเล่น ปลอดภัยกว่า เพราะไม่ถูกครอบงำทางความคิด ซึ่งขณะที่เล่นเด็กก็ได้เรียนรู้ไปได้เอง นี่คือ การเรียนรู้แบบนอกกรอบ
“สิ่งต่างๆ ที่คิดทำต้องตั้งต้นที่ตัวเอง แทนที่มองข้างนอกต้องมองข้างใน และใคร่ครวญอย่างเหมาะสม ต้องทำความเข้าใจ การตั้งโจทย์จากสภาพที่เป็นจริง เป็นการเรียนทางหลัก นอกกรอบไปด้วย เรียนทางลัดไปด้วย เข้าใจความรู้ไปด้วยจะได้ทั้ง 3 เรื่อง คือ 1.สิ่งที่เราทำ คือ เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง เข้าใจตัวเอง 2.การเรียนรู้จากเรื่องจริง เป็นทางลัด เพื่อให้ได้เป็นโจทย์จริง บริบทจริง และเป็นวิธีที่ทำอย่างไรให้เกิดการแก้ปัญหาใช้ความรู้เข้าแก้ปัญหา และ 3.การสื่อสารเชิงสาระ รู้จักจัดการความรู้ เป็นอีกทักษะ ที่เชื่อว่า ฝึกทำสิ่งนี้บ่อยๆ สังคมจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาได้เอง”
เมื่อเร็วๆนี้ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ (มธบ.)จัดการประชุมเสวนาวิชาการเนื่องในวันสถาปนามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ เรื่อง “การเรียนการสอนนอกกรอบ” มีนายมีชัย วีระไวทยะ นายกสมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน ครูใหญ่ โรงเรียนลำปลายมาศพัฒนา จังหวัดบุรีรัมย์ ,รองศาสตราจารย์ ประภาภัทร นิยม ผู้อำนวยการโรงเรียนรุ่งอรุณ มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ และ ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เครือข่ายจิตตปัญญาศึกษา ร่วมเป็นวิทยากร ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.อัศวิน เนตรโพธิ์แก้ว คณบดีคณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
นายมีชัย กล่าวว่า ทุกวันนี้โรงเรียนทุกที่มีความทุกข์ ต้องสร้างให้เป็นที่มีความสุข ต้องปฏิวัติอย่าให้ทุกคนคิดเพียงว่าโรงเรียนเป็นรถเมล์ ผ่านมาแล้วผ่านไป แต่ต้องเป็นที่ของทุกคน ที่ต้องคิดถึง สิ่งสำคัญ คือ อย่าคิดว่านักเรียนเป็นเด็ก แต่ต้องคิดว่า พวกเขาสามารถทำอะไรได้หลากหลายอย่าง ต้องสอนให้คิดเป็น ทำเป็น นอกจากนั้น ต้องดูแลสังคมด้วย
“เรื่องความเสมอภาคเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่การสอนเพียงเขียนออกเขียนได้ แต่ต้องสอนให้คนมีทักษะในด้านของความคิดริเริ่มใหม่ๆ มองมุมใหม่ เพราะคนไทยมักมุ่งเรื่องในอดีต แทนที่มุ่งไปสู่อนาคต ทำให้วันนี้มีผู้นำน้อยที่สามารถคิดนอกกรอบได้ สังคมสร้างผู้ตามของเมื่อวาน แทนการสร้างผู้นำของวันพรุ่งนี้”
นายมีชัย กล่าวว่า การสร้างเป็นที่สุขถาวรในชีวิตมนุษย์ เราต้องช่วยทำให้มีโรงเรียนมีความหมายมากกว่าเป็นเพียงที่เรียน แต่ต้องเป็นที่สร้างโอกาสทั้งแก่เด็กที่จะเป็นผู้ใหญ่ในอนาคต และผู้ปกครอง คนท้องถิ่น ที่ต้องส่งเสริมรายได้ จัดการอบรม ช่วยสอนทุกคนให้คิดเป็นอยู่ได้ ถึงจะเรียกว่า เป็นโรงเรียนอย่างสมบูรณ์แบบ
ขณะที่ดร.สรยุทธ กล่าวถึงการเรียนการสอนนอกกรอบว่า สามารถทำได้ทุกที่ทั้งในระบบและนอกระบบ นอกห้องเรียนหรือในห้องเรียน หรือในระบบมหาวิทยาลัยสามารถทำได้ เพียงต้องใช้ใจไปพร้อมๆกันให้แทรกซึมไปเรื่อยๆ ทั้งผู้สอนและผู้เรียน
“อย่างเช่น ในห้องเรียนวิชาชีววิทยา เริ่มต้นจากการใช้เรื่องจิตปัญญาศึกษา เข้ามาช่วย ใช้สามัญสำนึกมาใช้ ลองทำโดยการสอนแต่ละครั้งแบ่งเวลาให้วิชาละ 10 นาที แล้วเขียนความรู้สึกของแต่ละคนต่อวิชานี้เข้าไป 2 ข้อ คือ 1.อะไรโดนที่สุดสำหรับการเรียนการสอนในวันนี้ 2.อยากจะรู้ บ่น หรือด่า ในเวลาที่เรียนในวันนี้อย่างไรบ้าง แล้วกลับมาส่ง และเลือกบางส่วนกลับไปอ่านให้นักศึกษาฟัง จะเป็นใบประเมินการสอนไปในตัว ผลที่ได้ คือ ผู้เรียนจะได้ความรู้มากกว่าการพูดๆ ยัดๆ และคายออกมาในห้องสอบ ซึ่งตรงนี้ผู้สอนต้องเชื่อก่อนว่า สามารถเปลี่ยนแปลงลูกศิษย์ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงตัวเองได้เองจากตัวเขา จากบรรยากาศในห้องเรียน ซึ่งจะดีมากกว่าระบบการเรียนการสอนแบบเก่า”
ดร.สรยุทธ กล่าวต่อว่า เราต้องมาปรับความคิดกันใหม่ด้วยว่า เมื่ออาจารย์มีความสุขในการสอน นักเรียนก็จะมีความสุขในการเรียนไปด้วย เป็นวิธีง่ายๆ แต่ได้ผล อาจารย์ต้องมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ไม่บ่น ไม่โมโห ทำอย่างไรให้เรารู้สึกเช่นนั้น เพื่อทุกคนไม่เครียด ผลประโยชน์ตกกับทั้งสองฝ่าย และใช้ใจไปพร้อมๆ กัน ในการเรียนแต่ละครั้ง
ส่วนรศ.ประภาภัทร กล่าวถึงการเรียนการสอนทำให้นอกกรอบว่า ต้องตั้งเอาไว้ตั้งแต่เป้าหมายของการศึกษา ถือว่าเป็นโจทย์สำคัญมาก การตั้งคำถามว่าจะทำอะไรต่อไป เพื่อหาการเรียนรู้ที่ดีที่สุดในโลก เช่น ที่มูลนิธิโรงเรียนรุ่งอรุณ พอตั้งมาไม่ได้มุ่งสอนนักเรียน แต่เป็นการสอนครูด้วย เมื่อได้ครูที่ดีแล้วก็จะได้นักเรียนที่ดีด้วย
“การสอนให้รู้วิชาต้องให้คิดใหม่แก่ทุกคน ตั้งแต่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง หากผู้สอนตั้งท่าเป็นครูสอนวิชาก็ไม่ใช่การเรียนการสอน ต้องถอดโรงเรียนออกไปจากใจครู เพื่อเรียนรู้ใหม่ ต้องรู้ในปัจจุบัน อย่ายึดที่ตายตัว อย่างตอนนี้มีวิกฤตการเมืองหากใครใส่สีแดง มีการวิตกกังวลตัดสินไปแล้ว เนื่องจากมีชุดความคิดเดิม สิ่งต่างๆตรงนี้ล้วนมีความหมาย การเรียนการให้การศึกษาก็ต้องทำให้เปลี่ยนแปลง”
รศ.ประภาภัทร กล่าวว่า การสอนตามตำราเรียนไม่ใช่เรื่องยากนัก แต่ปัญหาอยู่ที่ว่า สอนเรื่องนั้นแก่ผู้เรียนแล้วเกิดความเข้าใจเพียงใด และผู้เรียนกับความรู้เป็นเรื่องเดียวกันหรือไม่ อย่างต้องถามครูคณิตศาสตร์ว่า สอนเรื่องสมการไปทำไม แทนที่จะฝึกวิธีคิดเป็นระบบ นำไปต่อยอดได้ แต่ครูคณิตศาสตร์รู้เพียงการคิดเลข แต่คิดอย่างอื่นไม่เป็น ถ้ายังตอบไม่ได้ก็ไม่ต้องสอน ปล่อยให้เด็กเล่น ปลอดภัยกว่า เพราะไม่ถูกครอบงำทางความคิด ซึ่งขณะที่เล่นเด็กก็ได้เรียนรู้ไปได้เอง นี่คือ การเรียนรู้แบบนอกกรอบ
“สิ่งต่างๆ ที่คิดทำต้องตั้งต้นที่ตัวเอง แทนที่มองข้างนอกต้องมองข้างใน และใคร่ครวญอย่างเหมาะสม ต้องทำความเข้าใจ การตั้งโจทย์จากสภาพที่เป็นจริง เป็นการเรียนทางหลัก นอกกรอบไปด้วย เรียนทางลัดไปด้วย เข้าใจความรู้ไปด้วยจะได้ทั้ง 3 เรื่อง คือ 1.สิ่งที่เราทำ คือ เรียนรู้อย่างลึกซึ้ง เข้าใจตัวเอง 2.การเรียนรู้จากเรื่องจริง เป็นทางลัด เพื่อให้ได้เป็นโจทย์จริง บริบทจริง และเป็นวิธีที่ทำอย่างไรให้เกิดการแก้ปัญหาใช้ความรู้เข้าแก้ปัญหา และ 3.การสื่อสารเชิงสาระ รู้จักจัดการความรู้ เป็นอีกทักษะ ที่เชื่อว่า ฝึกทำสิ่งนี้บ่อยๆ สังคมจะสร้างองค์ความรู้ขึ้นมาได้เอง”
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)